หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูอรุณวรวัตร (ทอง รินสูงเนิน)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๒ ครั้ง
ศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในการแพทย์แผนไทย
ชื่อผู้วิจัย : พระครูอรุณวรวัตร (ทอง รินสูงเนิน) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูอมรธรรมานุสิฐ
  จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม 2559
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  คือ  (๑) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและจรรยาบรรณของการแพทย์แผนไทย  (๒)  เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในแพทย์แผนไทย  (๓)  เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในการแพทย์แผนไทย  การวิจัยครั้งนี้เป็น  การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ  โดยเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร  (Documentary Research) จากพระไตรปิฎก คัมภีร์ทางการแพทย์แผนไทย ตำรายาแผนโบราณทางการแพทย์แผนไทย พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะของแพทย์แผนไทย เอกสารที่เกี่ยวข้องกับประวัติการแพทย์แผนไทย จรรยาแพทย์ และจริยธรรมของแพทย์และพยาบาล  จากเอกสารต่าง ๆ  

 

ผลการวิจัยพบว่า

             .  ประวัติความเป็นมาและจรรยาบรรณของการแพทย์แผนไทย  การแพทย์แผนไทย  หรือ การแพทย์แผนโบราณ เป็นการดูแลสุขภาพทั้งสภาวะปกติ และสภาวะที่ผิดปกติ (เป็นโรค) โดยใช้ทฤษฎีความสมดุลของธาตุต่าง ๆ ในร่างกายและกายวิภาคศาสตร์ (anatomy) หลักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์เข้ามาอธิบาย ตามหลักวิชาการหลักเวชปฎิบัติ  จึงเป็นวิธีการดูแลสุขภาพและการบำบัดรักษาความเจ็บป่วยของคนไทยที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมอันดีของไทย  มีการใช้สมุนไพร  การอบ  การประคบ  และการนวดไทย  ที่มีเอกลักษณ์เป็นแบบแผนไทย

             ๒.  หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในการแพทย์แผนไทย  เป็นหลักคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ  และทรงสอนให้ผู้อื่นรู้ตามเพื่อให้เวไนยสัตว์ได้หลุดพ้นจากอาสวะกิเลส  หลักพุทธธรรมเป็นหลักเกณฑ์ของทางจริยศาสตร์ที่พระพุทธองค์ได้ทรงวางไว้เพื่อเป็นมาตรฐาน  ซึ่งหลักพุทธธรรมที่ปรากฎในการแพทย์แผนไทย  คือ หลักอริยสัจ   หลักไตรลักษณ์  และหลักพรหมวิหาร  เพื่อให้มนุษย์ได้ดำเนินชีวิตที่ดีงามตามอุดมคติเท่าที่มนุษย์จะเข้ากันได้ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์พร้อมมีสติปัญญา  มีความสุขอันสมบูรณ์ที่สุด เป็นความดีอันสูงสุดของมนุษย์  ในทางพระพุทธศาสนาได้ทำให้คนไทยมีคติประจำใจในการพึ่งตนเอง  ในการแก้ความผิดหวังบ้าง  ในการแก้ทุกข์กายใจอย่างหนัก  เมื่อหมดวิธีแก้อย่างอื่นบ้าง  ด้วยให้ยอมรับความจริงของชีวิตและรู้จักคิด เช่น คิดว่าเราต้องพึ่งตนเอง   

             ๓.  เมื่อวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในการแพทย์แผนไทย  พบว่า  พระพุทธศาสนาทำให้คนไทยมีหลักสำหรับอยู่ร่วมกัน เช่น แสดงหน้าที่ของคนในสังคม ความสามัคคี และประเพณี เช่น  ประเพณีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือกัน  ความมีน้ำใจต่อกัน  และมีความเกรงใจกัน  การสั่งสอนธรรมของพระพุทธเจ้า  ทรงมุ่งผลในทางปฏิบัติ  ให้ทุกคนจัดการกับชีวิตที่เป็นอยู่จริงๆ  ในโลกนี้เริ่มแต่บัดนี้ เช่น ทรงสอนมนุษย์ให้รู้จักตนเอง  รู้จักร่างกายและจิตของตน  จะได้บำรุงรักษาร่างกายและจิตใจให้ดำรงอยู่อย่างปกติสุข

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕