หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาปรีชา จนฺทธมฺโม (อุดมกัน)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๕ ครั้ง
ศึกษาความเชื่อการบวงสรวงเทวดาของชุมชนโคกหัวภู ตำบลเหล่าต่างคำ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาปรีชา จนฺทธมฺโม (อุดมกัน) ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชรัตนาลงกรณ์
  พระราเชนทร์ วิสารโท
  เจษฎา มูลยาพอ
วันสำเร็จการศึกษา : 2559
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ      

    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิด ความเชื่อ และพิธีกรรมการบวงสรวงเทวดาในพระพุทธศาสนา ๒) ศึกษาความเชื่อเรื่องการบวงสรวงเทวดาของชุมชนโคกหัวภู ตำบลเหล่าต่างคำ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย และ ๓) ศึกษาคุณค่าของการบวงสรวงเทวดาที่ต่อชุมชนโคกหัวภู ตำบลเหล่าต่างคำ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

ผลการศึกษาพบว่า ชาวอีสานจึงต้องพึ่งพาอาศัยป่าไม้และธรรมชาติเพื่อการดำรงชีวิต โดยการทำเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ บางปีสภาพดินฟ้าอากาศไม่เอื้ออานวยต่อการเพาะปลูก เกิดภัยธรรมชาติ แห้งแล้ง จึงทำให้เกิดความเกรงกลัวต่ออำนาจเหนือธรรมชาติลึกลับ เป็นเหตุให้เกิดความเชื่อเรื่องผีสาง เทวดาอารักษ์ จึงมีการเซ่นสรวงบูชาอ้อนวอนให้ป้องกันรักษา ให้เกิดความปลอดภัย ดังนั้นชาวอีสานจึงมีพิธีกรรมการบูชาผีบรรพบุรุษ ชาวอีสานถือว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเป็นอย่างมากความเชื่อ หมายถึงการยอมรับนับถือ ในสิ่งนั้นๆ ในที่นี้คือการยอมรับนับถือ ว่ามีจริง แม้จะเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น แต่ก็เชื่อว่าเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่จริง และมีอำนาจคุ้มครองปกป้องรวมทั้งอวยพรอวยชัยให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุขได้ ความเชื่อจึงเกิดจากสภาวะที่บุคคลให้ความมั่นใจ เห็นด้วยคล้อยตามและพร้อมที่จะปฏิบัติตามสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเชื่อทั้งสิ่งที่มองเห็นสัมผัสได้และสิ่งที่มองไม่เห็นเป็นอำนาจลึกลับที่มีผลทำให้มนุษย์ได้รับผลดีผลร้ายเมื่อมนุษย์เชื่อในอำนาจลึกลับนั้นก็จะกระทำสิ่งต่างๆ เพื่อมิให้ถูกลงโทษและเพื่อให้อำนาจนั้นพึงพอใจต่อมาจึงมีพิธีกรรมต่างๆเพื่อบูชาเซ่นสรวงวิญญาณหรือเทพเจ้า

 

    พิธีกรรมบวงสรวงเทวดาที่ปรากฏในชุมชนโคกหัวภู ทั้งหมดมีคุณค่าที่เกิดต่อบุคคล อันได้แก่ความเชื่อและความศรัทธากับสิ่งเหล่านี้ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า คติความเชื่อที่เป็นแนวคิดหลักของพระพุทธศาสนาที่ชาวชุมชนโคกหัวภู มีความเชื่อ ได้แก่ คติความเชื่อเรื่องกรรมและการให้ผลของกรรม ซึ่งสะท้อนออกมาจากพฤติกรรมหรือการกระทำของพิธีกรรมหรือวิถีชีวิต ความเชื่อเรื่องเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความเชื่อเรื่องมงคลและอัปมงคล ความเชื่อเรื่องผี ความเรื่องฤกษ์ยาม ความเชื่อเรื่องอำนาจคุณพระรัตนตรัยความเชื่อเรื่องบุญกรรม เพื่อให้เกิดความ สบายใจ เห็นคุณค่าของ คน สัตว์ และสิ่งของที่มีบุญคุณกับตนและชุมชน เกิด ความกตัญญูกตเวที ความอ่อมน้อมถ่อมตน มีสัมมาคารวะ มีความโอบอ้อมอารีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจงดงาม เป็นผลให้เกิดความสามัคคี เข้าวิถีชีวิตของชาวบ้าน เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นพิธีกรรมที่สื่อถึงความหมายในการเคารพศรัทธาที่มีต่อผู้ที่มีพระคุณและเป็นการอนุรักษ์ประเพณีที่ดีงาม

คุณค่าการบวงสรวงเทวดาของชุมชนโคกหัวภู โดยการเชื่อมโยงกับภูมิหลังทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนก่อให้เกิดความเข้าใจ ความมั่นใจ ความภูมิใจและความมีเกียรติภูมิ จะส่งผลให้เกิดทัศนคติต่อตนเองใจเชิงบวก และเมื่อชุมชนเกิดความคุ้นเคยกับแบบแผนทางสังคมของชุมชน ก่อให้เกิดความเชื่อมั่น การยอมรับ การปรับตัวต่อพฤติกรรมภายในชุมชนได้ เกิดความรู้สึกพึงพอใจและความรู้สึกเป็นเจ้าของ ชุมชนส่งผลให้เกิดความผูกพันธ์กับชุมชนมากรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างพิธีกรรมท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาชุมชนพิธีกรรมการบวงสรวงเทวดาเป็นเครื่องมือที่คนในชุมชน มีการสร้างสัมพันธภาพที่ถูกต้องสร้างสรรค์และสอดคล้องกัน ระหว่างคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ คนกับสิ่งแวดล้อม คนกับคน และคนสร้างทัศนคติต่อตนเอง พร้อมกันกับความผูกพันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับชุมชนซึ่งเป็นการสร้างพลังชุมชน ในการพัฒนาให้เกิดดุลยภาพโดยใช้ปัญญาเป็นตัวเชื่อมต่อไปในปัจจุบัน  เป็นการนำเอาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในประยุกต์ใช้ในพิธี

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕