หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสมพงษ์ วํสธมฺโม (กงจันทร์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๐ ครั้ง
ศึกษาหลักธรรมและองค์ความรู้ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ “คุยหัตถทีปนีมหาคัณฐี” : ฉบับวัดสูงเม่น จังหวัดแพร่
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสมพงษ์ วํสธมฺโม (กงจันทร์) ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร, (เทียบ สิริญาโณ)
  พระมหาสุทิตย์ อาภากโร
  วุฒินันท์ กันทะเตียน
วันสำเร็จการศึกษา : กุมภาพันธ์ 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์หลัก ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของคัมภีร์  “คุยหัตถทีปนีมหาคัณฐี”  ฉบับวัดสูงเม่น   ๒) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของครูบากัญจนมหาเถระและประวัติของวัดสูงเม่น    ๓) ศึกษาหลักธรรมและองค์ความรู้ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ “คุยหัตถทีปนีมหาคัณฐี”  ฉบับวัดสูงเม่น     

                  จากการวิจัยพบว่า คัมภีร์   “คุยหัตถทีปนีมหาคัณฐี”    เป็นคัมภีร์ที่ถูกเก็บรักษาไว้ที่วัดวิชุนราช เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว โดยไม่ทราบชื่อของผู้รจนาคัมภีร์ว่าเป็นใคร  ท่าน    ครูบากัญจนมหาเถระอรัญญวาสี  แห่งวัดสูงเม่น  จังหวัดแพร่ ได้เดินทางไปทำการคัดลอกเมื่อปีพุทธศักราช  ๒๓๗๙  เป็นภาษาธรรมล้านนา   ตามประวัติเล่าว่าท่านครูบากัญจนมหาเถระท่านเป็นพระเถระในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น  ท่านมีความสามารถทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ  ทางด้านวิปัสสนาธุระท่านมีความเชี่ยวชาญจนได้รับสมณศักดิ์ฉายาจากเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในสมัยนั้นว่า  “ครูบากัญจนอรัญญวาสี”   ส่วนทางด้านคันถธุระท่านก็มีความเฉลียวฉลาดแตกฉานในพระธรรมและวินัย  ท่านได้ชักชวนพระมหาเถระเชียงใหม่ทำการตรวจสอบชำระพระไตรปิฎกและสังคายนารวบรวมคัมภีร์ธรรมต่างๆ ให้ถูกต้องครบถ้วน  ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๗๑ เจ้าผู้ครองนครเมืองโกศัย (แพร่) ได้อาราธนาท่านให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดสูงเม่น  จังหวัดแพร่  ท่านจึงได้ออกเดินทางกลับมาพร้อมทั้งได้นำคัมภีร์ธรรมต่าง ๆ เป็นจำนวนมากมาเก็บรวบรวมไว้ที่วัดสูงเม่น   ต่อมาวัดสูงเม่นก็ได้กลายเป็นสถานที่เก็บรวบรวมวรรณกรรมทางพุทธศาสนาที่เป็นคัมภีร์ใบลานมากที่สุดในประเทศไทยและเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของจังหวัดแพร่อีกด้วย

                  คัมภีร์“คุยหัตถทีปนีมหาคัณฐี”  เป็นคัมภีร์ที่ผู้รจนาได้นำมีเนื้อหาหลักธรรมที่มีปรากฎอยู่ในคัมภีร์พระวินัยปิฎกคัมภีร์, สมันตปาสาทิกา, และวิสุทธิมรรค, มาอธิบายเพิ่มเติม เช่น เรื่องการทำสังคายนาในประเทศอินเดียและศรีลังกา, ปฏิจจสมุปบาท,  อริยสัจ ๔, พุทธประวัติตอนปฐมโพธิกาล, และการแสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตร,แก่ปัญจวัคคีย์ เป็นต้น

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕