หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระประศาสตร์ศิลป์ สิริมงฺคโล (กาญบุตร)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๕ ครั้ง
พุทธวิธีการสอนในการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร (การสอนสังคมศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระประศาสตร์ศิลป์ สิริมงฺคโล (กาญบุตร) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ชวาล ศิริวัฒน์
  สมชัย ศรีนอก
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม 2561
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การวิจัยเรื่อง พุทธวิธีการสอนในการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ๓ ข้อดังนี้ ๑. เพื่อศึกษาพุทธวิธีการสอนในการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษาเขตสาทร กรุงเทพมหานคร ๒. เพื่อเปรียบเทียบพุทธวิธีการสอนในการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษาเขตสาทร กรุงเทพมหานคร ๓.เพื่อเสนอแนวทางพุทธวิธีการสอนในการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๓๗๒ รูป เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลคือ การหาค่าความถี่และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance : F-test) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s)

ผลการวิจัยพบว่า

พุทธวิธีการสอนในการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษา เขตสาทรกรุงเทพมหานคร ๑) ด้านหลักสูตร ด้านสื่อการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการจัดการเรียน
การสอน และด้านการวัดการประเมินผล อยู่ในระดับมาก

การเปรียบเทียบพุทธวิธีการสอนในการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร จำแนกตาม เพศ ระดับชั้น และขนาดโรงเรียน โดยภาพรวม พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นต่อพุทธวิธีการสอนในการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕

ข้อเสนอแนะพุทธวิธีการสอนในการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร พบว่า ครูผู้สอนต้องให้นักเรียนมีการฝึกการอ่านภาษาบาลี พุทธศาสนสภาษิต
เป็นประจำ เพื่อให้นักเรียนได้ซึมซับเอาหลักธรรมะจากภาษาบาลีที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรง
มีทั้งความรู้ประกอบกับความสามารถพอที่จะตอบปัญหาให้นักเรียนคลายความสงสัย แล้วเข้าใจกระจ่างแจ้งในประเด็นนั้นได้ ที่สำคัญคือครูผู้สอนวิชาพระพุทธศาสนาควรมีประสบการณ์ด้านการปฏิบัติธรรมด้วย ครูต้องมีความเข้าใจเอาใจใส่นักเรียนในทุกระดับชั้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาส่วนตัวของนักเรียนที่
จะส่งผลให้การเรียนของนักเรียนตกต่ำ หรือสิ่งที่พวกเขากำลังประสบอยู่ และครูสามารถนำปัญหาหรือเรื่องเหล่านั้นมาสอนให้นักเรียนรู้จักแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง ละต้อง
มีการประเมินนักเรียนจากการสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับบริบทของนักเรียนแต่ละคนด้วย

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕