หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระเมก กนฺตสีโล (สีทน)
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๖ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แนวพุทธ : กรณีศึกษา ปราสาทหินวัดภู แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว
ชื่อผู้วิจัย : พระเมก กนฺตสีโล (สีทน) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน
  พระวิมาน คมฺภีรปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม 2561
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             งานวิทยานิพนธ์เรื่อง ศึกษาวิเคราะห์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แนวพุทธ : กรณีศึกษา ปราสาทหินวัดภู แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของแหล่งท่องเที่ยวปราสาทหินวัดภู แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของปราสาทหินวัดภู แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ตามแนวทางพระพุทธศาสนา

                   ผลการศึกษา พบว่า การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นการท่องเที่ยวแบบเกื้อกูลต่อธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งนักท่องเที่ยวได้มีส่วนในการในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวไปด้วย แนวทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ปราสาทหินวัดภู คือ แนวทางการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ เช่น การใช้มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองแหล่งท่องเที่ยว การดูแลรักษาแหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ  การจัดทำคู่มือเกี่ยวกับการท่องเที่ยว แนวทางอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์โบราณสถานและโบราณวัตถุ คือ การออกกฎหมายคุ้มครองควบคุม การป้องกันการลักลอบและทำลาย การจัดหางบประมาณในการบูรณะซ่อมแซม การจัดหาสถานที่เก็บรักษาโบราณวัตถุ การดูแลรักษาความสะอาด

             สภาพและปัญหาของแหล่งท่องเที่ยวปราสาทหินวัดภู แขวงจำปาสัก ประเทศลาว ปัจจุบันปัญหาของปราสาทหินวัดภูเกิดจากสาเหตุหลัก ได้แก่ จากธรรมชาติ คือ การเสื่อมคุณภาพของดิน เกิดจากสัตว์ ซึ่งได้มีการเหยียบย่ำปราสาทบางส่วน เกิดจากแมลงเข้าไปกัดกินสิ่งก่อสร้างที่ทำด้วยไม้ ปัญหาเกิดจากมนุษย์เป็นสาเหตุที่ร้ายแรงที่สุด เช่น นักท่องเที่ยวบางกลุ่มได้ขีดเขียนลงบนแผ่นหินจนทำให้เกิดความเสียหายต่อปราสาท การก่อมลภาวะแก่ปราสาท การลักลอบนำโบราณวัตถุออกไป รวมถึงการไม่เข้าใจในแนวทางอนุรักษ์ปราสาทอย่างเหมาะสมก็จะทำให้เกิดปัญหาแก่ปราสาทหินวัดภูอีกรูปแบบหนึ่ง

              วิเคราะห์แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แนวพุทธของปราสาทหินวัดภู คือ วิธีการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ปราสาทหินวัดภู เช่น การปลุกจิตสำนึก การมีส่วนร่วมของภาครัฐ การมีส่วนร่วมของศาสนา และมีกระบวนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางกายภาพ (กายภาวนา) กระบวนการจัดการและวินัยของนักท่องเที่ยว (ศีลภาวนา) การสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม จิตสำนึกหวงแหนความเป็นมรดกของชาติ ปลุกจิตสำนึกให้ตระหนักคุณค่าของปราสาท (จิตตภาวนา) และให้ความรู้และข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว การให้ข้อมูลแก่ประชาชนและบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเกี่ยวกับการอนุรักษ์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ (ปัญญาภาวนา)

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕