หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » แม่ชีนันทนัช อัศดรศักดิ์
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๑ ครั้ง
ศึกษาอายุสสธรรม ๕ ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
ชื่อผู้วิจัย : แม่ชีนันทนัช อัศดรศักดิ์ ข้อมูลวันที่ : ๒๗/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  บุณชญา วิวิธขจร
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ๒ ประการ คือ เพื่อศึกษาอายุสสธรรม ๕ ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และเพื่อศึกษาอายุสสธรรม ๕ ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวบรวม สรุปวิเคราะห์ เรียบเรียง บรรยายเชิงพรรณนา และตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญ

 

จากการวิจัยพบว่า ความหมายของอายุสสธรรม ๕ คือ หลักธรรมที่เกื้อกูลแก่อายุยืน ซึ่งจากอนายุสสสูตรตามพระไตรปิฎก แบ่งเป็น ๒ พระสูตร คือ ปฐมอนายุสสสูตร ประกอบด้วยหลักธรรม๑. สัปปายการี คือ การทำความสบาย ๒. สัปปายมัตตัญญู คือ การเป็นผู้รู้ประมาณ ๓. ปริณตโภชี คือ  การบริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย ๔. กาลจารี คือ การเที่ยวไปในเวลาอันควร ๕. พรหมจารี คือ การประพฤติพรหมจรรย์ และทุติอนายุสสสูตร ซึ่งปรากฏว่าสามข้อแรกเหมือนกับปฐมอนายุสสสูตร และสองข้อสุดท้ายเป็น ๔. สีลวา คือ การมีศีล และ ๕. กัลยาณมิตตะ คือ การผู้มีมิตรดี ซึ่งทั้งสองข้อดังกล่าวตามทุติยอนายุสสสูตรนั้น ยังมีความสอดคล้องกับข้อพรหมจารีในปฐมอนายุสสสูตรด้วย นอกจากนี้      อายุสสธรรม ๕ มีความสัมพันธ์กับไตรสิกขา มีความสัมพันธ์กับอิทธิบาท ๔ เนื่องด้วยเป็นเหตุแห่งการมีอายุยืนตามหลักอนายุสสสูตร และมีความสัมพันธ์กับปธานิยังคธรรม ๕ ในด้านการปฏิบัติธรรม

อายุสสธรรม ๕ กับการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา มีความสำคัญและสอดคล้องกันโดยตรงเนื่องจากองค์ประกอบของอายุสสธรรม ๕ เกื้อกูลต่อความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม โดยอาศัยหลักสัปปายการีเพื่อสร้างความสะดวกสบายเป็นพื้นฐาน แล้วรู้จักประมาณในสิ่งที่สะดวกสบายดังกล่าวนั้น เรียกว่ามีสัปปายมัตตัญญู เพื่อให้เป็นผู้รู้ประมาณ และอาศัยการบริโภคสิ่งที่ย่อยง่ายตามหลักปริณตโภชี เพื่อเหมาะแก่ธาตุของร่างกายและจิตใจที่ควรแก่การงาน การประพฤติพรหมจรรย์ในเวลาที่เหมาะสมตามหลักกาลจารี พร้อมทั้งปฏิบัติตามสิกขาบท อันเป็นบาทฐานของสีลวา และเมื่อได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติจากกัลยาณมิตร ย่อมนำไปสู่การพัฒนาอินทรีย์ให้แก่กล้ายิ่งขึ้น อันเป็นเหตุเกื้อกูลต่อการเจริญวิปัสสนา สามารถรู้ชัดในความเกิดดับแห่งชราและมรณะ ก้าวพ้นไปจากการเกิดและการตาย สามารถเลื่อนชั้นจากปุถุชนเป็นพระอริยบุคคล มุ่งสู่ความเป็นอมตะ

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕