หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » โย่ง ศรีเวียน
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๒ ครั้ง
การพัฒนาแบบประเมินเจตสิกปัจจัยเชิงทำนายบุคลิกภาพของผู้ปฏิบัติธรรม (สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา)
ชื่อผู้วิจัย : โย่ง ศรีเวียน ข้อมูลวันที่ : ๐๔/๐๕/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  พุทธชาติ แผนสมบุญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : กุมภาพันธ์ 2561
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ 

 

               การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของเจตสิกปัจจัยที่ พัฒนาเป็นจริตเชิงทำนายบุคลิกภาพ ๒) เพื่อสร้างสมาการโมเดลโครงสร้าง ๓) เพื่อทดสอบความ สอดคล้องของโมเดลแบบประเมินเจตสิกปัจจัยเชิงทำนายบุคลิกภาพของผู้ปฏิบัติธรรม ซึ่งการวิจัยใน ครั้งนี้เป็นรูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การเก็บรวบรวม ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ การศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเถรวาทและทฤษฎี จิตวิทยาบุคลิกภาพ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์แบบวิเคราะห์เนื้อหา การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบประเมิน เจตสิกปัจจัยเชิงทำนายบุคลิกภาพของผู้ปฏิบัติธรรม โดยเก็บรวมรวมข้อมูลจากผู้ปฏิบัติธรรม จำนวน ๒๗๖ คน และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพิสูจน์สมมติฐานของการวิจัย

 

 

ผลการวิจัยมีดังนี้

 

              ๑. การศึกษาองค์ประกอบของเจตสิกปัจจัยที่พัฒนาเป็นจริตเชิงทำนายบุคลิกภาพ พบว่า เจตสิกปัจจัยเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ปรุงแต่งจิตให้เป็นกุศลจิต  อกุศลจิต และอัพยากตจิต  อันเป็น เหตุให้จิตเหล่านั้นพัฒนาไปสู่จริต ๖ แล้วจริตที่ประกอบด้วยกายก็กระตุ้นกายให้แสดงอากัปกิริยา ออกเป็นบุคลิกภาพ ที่สามารถจำแนกบุคลิกภาพของบุคคลโดยทั่วไปออกเป็นหมวดใหญ่ๆ ได้ ๖ หมวด คือ  ๑) หมวดบุคลิกภาพที่หนักไปทางโลภะ ๒) หมวดบุคลิกภาพที่หนักไปทางโทสะ ๓) หมวด บุคลิกภาพที่หนักไปทางโมหะ ๔) หมวดบุคลิกภาพที่หนักไปทางปัญญา ๕) หมวดบุคลิกภาพที่หนักไป ทางศรัทธา ๖) หมวดบุคลิกภาพที่หนักไปทางวิตกที่ประกอบโดยทั่วไปในกระทงคำถามจำนวน      ๘๔ ข้อ

 

             ๒. การสร้างสมาการโมเดลโครงสร้าง พบว่า บุคลิกภาพของผู้ปฏิบัติธรรม ประกอบด้วย ตัวแปรต้น ได้แก่ กระทงคำถาม จำนวน ๘๔ ข้อ ตัวแปรตาม ได้แก่ หมวดคำถาม ๖ หมวด ตัวแปรแฝง ได้แก่ จริต ๖ จริต บุคลิกภาพ ๖ ลักษณะ ได้แก่ ๑) บุคลิกภาพโลภะ = ๖.๔๖, ๒) บุคลิกภาพ โทสะ = ๙.๗๐, ๓) บุคลิกภาพ โมหะ = ๕.๐๕, ๔) บุคลิกภาพปัญญา = ๕.๕๕, ๕) บุคลิกภาพศรัทธา = ๖.๙๔, ๖) บุคลิกภาพวิตก = ๒.๖๐ ตามค่าประมาณการที่เป็นกลาง (Unbiased estimate) ที่มีค่า น้ำหนักถดถอยอยู่ในระหว่าง - ๐.๐๒ ถึง ๑.๐๖ และตรงตามเกณฑ์สหสัมพันธ์จากการตรวจสอบกับ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค = .๘๔๓ ของแบบประเมินเจตสิกปัจจัยเชิงทำนายบุคลิกภาพของ
ผู้ปฏิบัติธรรม

             ๓. การสร้างแบบประเมินบุคลิกภาพจากเจตสิกปัจจัยเพื่อนำไปเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า เป็นการสร้างจากข้อมูลกระทงคำถามที่มีความสัมพันธ์ของตัวแปรกับโมเดล โดยการวิเคราะห์สมาการโมเดลโครงสร้างเชิงเส้นตามสมมุติฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ ที่มีค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนระหว่างโมเดล              

               การตรวจสอบความสอดคล้อง พบว่า มีความสอดคล้องกันตามค่าสถิติ ดังนี้ ไคว์-สแคว

ไม่มากกว่า (χ2) = ๕๘.๔๖๑, P = .๐๕๘, ratio = ๑.๓๖๐, GFI = .๙๖๖, IFI =.๙๗๗, AGFI = .๙๓๙, CFI = .๙๗๖, NFI = .๙๑๙, RFI = .๘๗๕, PGFI = .๕๓๓, z = .๐๓๖

 

          สรุป แสดงว่าระดับความสอดคล้องมีค่าสูง ถ้าระดับความสอดคล้องมีค่าสูง ก็ยืนยันได้ว่า แบบประเมินเจตสิกปัจจัยนี้ สามารถนำไปใช้ทำนายบุคลิกภาพผู้ปฏิบัติธรรมได้

 

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕