หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระบัณฑิต อุสฺสโภ (เพชรเล็ก)
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๗ ครั้ง
ศึกษาหลักธรรมและการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในปฐมเคลัญญสูตร
ชื่อผู้วิจัย : พระบัณฑิต อุสฺสโภ (เพชรเล็ก) ข้อมูลวันที่ : ๒๗/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาชิต ฐานชิโต
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

             สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาเนื้อหาหลักธรรมในปฐมเคลัญญสูตร และ ๒) เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในปฐมเคลัญญสูตรโดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท คือ  พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เรียบเรียง  บรรยาย  ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 

 

             จากการศึกษาพบว่า  ปฐมเคลัญญสูตร ว่าด้วยความเจ็บป่วย พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ณ ศาลาคนไข้ให้ภิกษุเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ รู้ชัดในเวทนาทั้ง ๓ อันไม่น่าเพลิดเพลิน หลังจากตายไปแล้วย่อมทำให้จิตหลุดพ้นเป็นอิสระได้ เมื่อเสวยอารมณ์ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ให้รู้ชัดความเกิดว่าสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนานี้เกิดขึ้นแล้วแก่เราให้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อม ความคลายกำหนัด ความดับและความสละคืนในกาย เมื่อพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เป็นต้น ย่อมละอวิชชานุสัยในกาย เมื่อเสวยเวทนาใกล้เสียชีวิต ให้รู้ชัดว่ากำลังเสวยเวทนาใกล้ตาย หลังจากตายแล้วให้กำหนดรู้เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน จิตใจก็จะสงบระงับ

          ในการเจริญสติสัมปชัญญะที่ปรากฏในปฐมเคลัญญสูตร ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐานในปฐมเคลัญญสูตร เริ่มต้นโดยการตั้งจิตให้มีสติและสัมปชัญญะ อยู่ที่พิจารณา กาย เวทนา จิต และธรรม โดยผู้เจ็บป่วยเริ่มต้นพิจารณาเวทนาตามหลักเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานที่มีกำลังปรากฏชัดในขณะปัจจุบัน ในทุกอิริยาบทและให้จิตพิจารณาเห็นความรู้สึกที่กำลังเกิด-ดับไปอยู่ทุกขณะ เมื่อรู้ชัดในเวทนาทั้งหลายแล้วพิจารณาเห็นด้วยในกฎไตรลักษณ์ คือความไม่เที่ยง ความเสื่อม ความคลายกำหนัด ความดับและความสละคืน คือให้รู้ชัดในเวทนาอยู่ตลอดเวลาย่อมละปฏิฆานุสัยได้ เมื่อเกิดวิปัสสนาญาณตามลำดับจิตย่อมเข้าสู่อริยมรรค ดับทุกข์ได้ จิตเป็นอิสระ ไม่ฟุ้งซ่าน เพราะไม่ถูกกิเลสครอบงำอีกต่อไป

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕