หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาพีรยุทธ โชติธมฺโม (มีชัย)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๓ ครั้ง
ศึกษาการพิจารณาทุกข์ตามหลักปฏิจจสมุปบาทในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาพีรยุทธ โชติธมฺโม (มีชัย) ข้อมูลวันที่ : ๒๗/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  วิโรจน์ คุ้มครอง
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๓ มกราคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             สารนิพนธ์นิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ เพื่อศึกษาทุกข์ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาการพิจารณาทุกข์ตามหลักปฏิจจสมุปบาทในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท คือพระไตรปิฎก อรรถกถา และคัมภีร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาเรียบเรียงบรรยายเป็นเชิงพรรณนาเสนอผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ แล้วแก้ไขตามคำแนะนำ

             จากการศึกษาพบว่า ความทุกข์ (ทุกฺขํ) หมายถึงสภาพที่ทนอยู่อย่างเดิมไม่ได้ เป็นสภาพที่ต้องถูกบีบคั้นให้เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเพราะเป็นสังขตะ ความสุขที่คนทั่วไปเข้าใจก็จัดเป็นทุกข์ด้วย ความทุกข์เปรียบเหมือนตัวปัญหาที่ต้องทราบก่อนจึงจะแก้ไขความทุกข์ได้ตามหลักอริยสัจ ทุกข์แบ่งเป็นหลายประเภทตามองค์ประกอบแต่โดยย่อมี ๒ ประเภทคือ กายิกทุกข์ และเจตสิกทุกข์ ทุกข์ทั้ง ๒ ประเภทเป็นไปตามอำนาจของไตรลักษณ์และการปรุงแต่งของกิเลสที่มีต่อจิต ทุกข์สามารถสงเคราะห์เข้ากับหลักธรรมสำคัญ

ได้แก่ ๑

 

) ไตรลักษณ์มีลักษณะ ๒๕ อย่างเรียกว่า ทุกขลักษณะ
๒) อริยสัจมีลักษณะ ๔ ประการ และ ๓) ปฏิจจสมุปบาททั้ง ๑๒ องค์ฝ่ายสมุทัยจัดเป็นทุกข์ ส่วนองค์ธรรมที่เหลือจากข้อชราและมรณะคือ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปยาส จัดเป็นทุกข์ที่ปรากฏชัดแต่มีลักษณะต่างกัน

          การพิจารณาทุกข์ตามหลักปฏิจจสมุปบาทในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนานั้น คือการพิจารณาทุกข์ประเภทต่างๆ โดยความเป็นปัจจัยซึ่งกันและกันของรูปและนามโดยปรมัตถ์ และยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์เพื่อปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาไปตามลำดับของโสฬสญาณและวิสุทธิ ๗ ปฏิจจสมุปบาทใน
ภวจักรแรกที่มีอวิชชาเป็นมูลเหมาะกับผู้ปฏิบัติที่เป็นทิฏฐิจริต และภวจักรที่สองมีตัณหาเป็นมูลเหมาะกับผู้ปฏิบัติที่เป็นตัณหาจริต การพิจารณาทุกข์สงเคราะห์เข้ากับสติปัฏฐานทั้ง ๔ ในทางปฏิบัติอาจเริ่มต้นที่องค์ประกอบข้อใดข้อหนึ่งในระหว่างได้ ไม่จำเป็นต้องครบ ๑๒ หัวข้อธรรมในปฏิจจสมุปบาทและไม่มีรูปแบบตายตัว หากผู้ปฏิบัติไม่สามารถดับทุกข์ได้คือไปถึงมรรคญาณและผลญาณได้ แต่สามารถรู้ในเหตุปัจจัยของการเกิดดับของรูปนามหรือทุกข์ตามหลักปฏิจจสมุปบาท ถือว่าได้บรรลุ ปัจจยปริคคหญาณแล้ว จะเป็นผู้ถึงความบริสุทธิ์เพราะหมดสงสัยในเหตุปัจจัยให้เกิดทุกข์อีก จัดเป็นผู้ที่มีภูมิคติแน่นอนที่เรียกว่า พระจูฬโสดาบัน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕