หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูปลัดสังวาลย์ เทวสโร (ศรีสุข)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๒ ครั้ง
ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องศรัทธาในพระพุทธศาสนาเถรวาท กับศาสนาพราหมณ์
ชื่อผู้วิจัย : พระครูปลัดสังวาลย์ เทวสโร (ศรีสุข) ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชรัตนมุนี
  สุพิชฌาย์ พรพิชณรงค์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม 2561
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีจุดมุงหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบหลักศรัทธาในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาพราหมณ์ โดยมีวัตถุประสงค ๓ ประการคือ (๑) เพื่อศึกษาหลักศรัทธา ในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาหลัก ศรัทธาในศาสนาพราหมณ์ (๓) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบหลักศรัทธาในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาพราหมณ์ โดยมี วิธีวิจัยเชิงเอกสารคือศึกษาคนควารวบรวมขอมูลปฐมภูมิจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของนํามาวิเคราะหตีความ เปรียบเทียบ บรรยายเชิงพรรณนาและตรวจสอบโดยผุ้เชี่ยวชาญ

ผลการวิจัยพบวา“ศรัทธา” ในพระพุทธศาสนาเถรวาท  หมายถึง การเชื่อมั่นในความดี เปนการเชื่อที่มีเหตุผลสนับสนุน เปนศรัทธาที่ประกอบดวยปญญากํากับเสมอ มีลักษณะของความเชื่อตามความเปนจริง   โดยมองใหเห็นความสัมพันธระหวางเหตุกับผลของสิ่งตางๆ ผู้มีความเชื่อถูกต้องจะไม่ตัดสินหรือลงความเห็นในเรื่องใดจนกวาจะไดรับการพิสูจนดวยการปฏิบัติจนเห็นผลที่ไดรับจากประสบการณด้วยตนเอง ความเชื่อหรือศรัทธาในพระไตรปฎกมี ๔ ประการ คือ  (๑) กัมมสัทธา (๒) วิปากสัทธา  (๓) กัมมัสสกตาสัทธา (๔) ตถาคตโพธิสัทธา โดยสรุปแลวมุงเนนใหเชื่อกฎแหงธรรมชาติ  กฎแหงการกระทําของปจเจกบุคคล หรือกฎแหงเหตุผล และการเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย ในฐานะเปนแบบอยาง และเปนกฎที่เราจะตองเขาใจและปฏิบัติตามเพื่อความพนทุกข

ในส่วนของศาสนาพราหมณ์ในแต่ละยุคแต่ละสมัยมีความเชื่อที่แตกต่างกันออกไปในลัทธิของชาวอารยันใหม่มีส่วนคล้ายคลึงกับปรัชญาของศาสนาใหม่ที่เกิดขึ้นในชมพูทวีในสมัยเดียวกัน คือ ศาสนาเชน ศาสนาพราหมณ์ และพระพุทธศาสนา มีปรัชญาธรรมดังนี้

๑. มีความเชื่อยิ่งขึ้นว่า ดวงวิญญาณเป็นอนันตะ ดวงวิญญาณนั้นผ่านมาจากการเกิด (ชาติ) อันนับไม่ได้ ชาติหนึ่งอาจเกิดเป็นอย่างหนึ่ง อาจเกิดเป็นคนมีฐานะดี เป็นคนจน มีปัญญาดี บางทีเป็นคนโง่ บางครั้งอาจเป็นสัตว์บางชนิด  และเป็นพืชบางอย่างก็มี เวียนกันอยู่อย่างนี้ไม่มีเวลาหยุดนิ่ง จนกว่าจะเข้าถึงซึ่งความหลุดพ้น (โมกษะ) จากการเกิดเข้าไปอยู่กับ ปฐมวิญญาณ คือ มหาพรหม

๒. ความแตกต่างกันของชีวิตเป็นไปด้วยอำนาจของกรรม  คือ การกระทำไว้แต่ชาติก่อน ๆ และเพราะกรรมนั้นเองที่ทำให้เวียนว่ายตายเกิดเป็นวัฏฏะอยู่

๓. เพราะเชื่อว่ามีกรรมเป็นเครื่องบันดาลให้เกิด และความไม่เสมอภาคที่มี เพราะการกระทำนั้น ๆ จึงมีลัทธิใหม่สอนว่า เพื่อไม่ให้มีความเสมอภาค และเพื่อไม่ให้มีการเวียนเกิดเวียนตายอย่างนั้น ก็ควรจะมีอกรรม คือ การไม่กระทำ ทำตัวให้เข้าถึงอกรรม ในที่นี้อธิบายว่า คือ พรหม แต่การที่มนุษย์จะหลีกกรรมไปสู่อกรรมมีอยู่ทางเดียว คือ สละบ้านเข้าอยู่ป่า แสวงหาธรรมเป็นเบื้องหน้า

๔. ด้วยเหตุแห่งการนับถือว่า วิญญาณต้องเวียนว่ายตายเกิด เพราะกรรมดังกล่าวข้างต้น จึงเกิดมีลัทธิการสิ้นสุดแห่งโลกเก่า และการเริ่มต้นแห่งโลกใหม่ เป็นไปตามกาลสมัยดังกล่าวข้างต้น การเกิดแห่งโลก หรือการสิ้นสุดแห่งโลก เป็นหน้าที่ของเทวะผู้สร้างและเทวะผู้ทำลาย

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕