หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » มนตรี คงเตี้ย
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๐ ครั้ง
กระบวนการจัดการความขัดแย้งตามหลักสาราณียธรรม: กรณีศึกษา ประชาชนบุกรุกที่ดินสาธารณะชุมชนชะแมบพัฒนา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สันติศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : มนตรี คงเตี้ย ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส
  อุทัย สติมั่น
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

              งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑)  เพื่อศึกษาแนวคิด หลักการและวิธีการจัดการความขัดแย้ง  (๒)  เพื่อศึกษา สภาพปัญหาและแนวทางการจัดการความขัดแย้งในพื้นที่สาธารณะของชุมชนชะแมบพัฒนา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  (๓) ประยุกต์หลักสารณียธรรม จัดการความขัดแย้งพื้นที่สาธารณะชุมชน

               วิธีการดำเนินการวิจัย การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Rescarch) มุ่งศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา และวรรณกรรมพุทธศาสนาในยุคปัจจุบัน  (Documentary Research) ทั้งในส่วนที่เป็นแนวคิด ทฤษฎี และปฏิบัติการ สันติวิธีเชิงพุทธในประเด็นที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยศึกษาจากปัญหาการขัดแย้งของชุมชน เฉพาะชุมชน หมู่ ๑ ตำบลชะแมบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากเป็นชุมชนที่ผู้วิจัยเห็นว่ามีการใช้หลักธรรม มาดำเนินการ จึงประสบผลสำเร็จ โดยผู้วิจัยได้ลงพื้นที่ รับฟังปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง และได้สัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อย่างไม่เป็นทางการ และรวบรวมข้อมูลการดำเนินการของชุมชนว่าใช้หลักการดำเนินการอย่างไร ต่างหรือเหมือนกับชุมชนอื่นอย่างไร และผลการดำเนินการเป็นอย่างไร เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหลักธรรม เพื่อให้ชุมชุนอื่นเห็นและนำไปเป็นตัวอย่างต่อไป

         ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนได้แก้ปัญหาด้วยการ จัดการปัญหา โดยตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อช่วย เหลือซึ่งกันและกันเป็นเบื้องต้น และต่อมาได้พัฒนาเป็นกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์ เพื่อนำเงินมาเป็นทุนสำรองในการจัดซื้อที่ดินเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ มีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นเพื่อดูแลสภาพปัญหาชุมชน ให้มีความเป็นอยู่อาศัยที่ดีขึ้น จากการศึกษาวิธีการจัดการสภาพปัญหาความขัดแย้งในชุมชน ผู้วิจัยพบว่ามีความสอดคล้องกับแนวคิดตามหลักพุทธศาสนาคือ “หลักสาราณียธรรม ๖” ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดนำหลักธรรมดังกล่าวมาประยุกต์ให้เป็นชุดรูปแบบ ในการจัดการปัญหาเพื่อพัฒนาให้เป็นกระบวนการที่เป็นแบบ อย่างสู่ชุมชนอื่นต่อไป

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕