หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาอิษฎามาศ ปภสฺสรวณฺโณ (สุวรรณะ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๗ ครั้ง
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท ๔ ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๑ กรุงเทพมหานคร(การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาอิษฎามาศ ปภสฺสรวณฺโณ (สุวรรณะ) ข้อมูลวันที่ : ๐๒/๐๔/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย
  บุญเชิด ชำนิศาสตร์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามหลักอิทธิบาท ๔ ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๑ กรุงเทพมหานคร                   ๒.เพื่อเปรียบเทียบความเห็นของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามหลักอิทธิบาท ๔ ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๑ กรุงเทพมหานคร ๓. เพื่อศึกษาอุปสรรคปัญหาและข้อเสนอแนะการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามหลักอิทธิบาท ๔ ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๑ กรุงเทพมหานคร

             ผลการวิจัย พบว่า

                ๑. ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามหลักอิทธิบาท ๔ ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๑ กรุงเทพมหานคร  ภาพรวม อยู่ในระดับมาก และรายด้านตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้าน A (ACTION) = อิทธิบาท ๔  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๐๔  ด้าน D  (DOING)=อิทธิบาท ๔ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๙๗

ด้าน P  (PLANING)=อิทธิบาท ๔ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๙๔  ตามลำดับ

                ๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นผู้บริหารและครูที่มีต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามหลักอิทธิบาท ๔ ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๑กรุงเทพมหานคร ๑) หาค่าที (t-test) จำแนกตามสถานภาพ ภาพรวม และรายข้อ ทุกข้อ พบว่า ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามหลักอิทธิบาท ๔     ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๑ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ๒) หาค่าเอฟ (F-test) จำแนกตามวุฒิการศึกษาภาพรวม และรายข้อ ทุกข้อ พบว่า ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นต่อการประกันคุณภาพการศึกษาตามหลักอิทธิบาท ๔ ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๑ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และ ๓) ค่าเอฟ (F-test) จำแนกตามประสบการณ์ภาพรวม พบว่า ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ที่ ๐.๐๕  

                ฉะนั้นผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในภาพรวมคือ PDCA = อิทธิบาท ๔ จำแนกตามประสบการณ์การทำงานเป็นรายคู่พบว่า กลุ่มประสบการณ์ต่างๆที่มีระดับความคิดเห็นในภาพรวมคือ PDCA = อิทธิบาท ๔ แตกต่างกันอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จำนวน ๑ คู่ ได้แก่ กลุ่มประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ ๔-๖ ปี มีระดับความคิดเห็นในภาพรวมคือ PDCA = อิทธิบาท ๔ มากกว่ากลุ่มที่มีประสบการณ์การทำงานต่ำกว่า ๓ ปี

             ๓. การศึกษาอุปสรรคปัญหาและข้อเสนอแนะการงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามหลักอิทธิบาท ๔ ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๑ กรุงเทพมหานคร

                ด้าน P (PLANING)= อิทธิบาท ๔  พบว่ามีปัญหาอุปสรรคด้านการปรับเปลี่ยนการปฏิบัติงานบ่อยและขาดความต่อเนื่องและชัดเจน แนวทางแก้ไขยอมรับการเปลี่ยนแปลง และปรับปรุงงานตามแผนงานที่แก้ไข

ด้าน D  (DOING)=อิทธิบาท ๔ พบว่ามีปัญหาอุปสรรคการรวมกลุ่มปฏิบัติงานค่อยข้างยากเนื่องจากบุคลากรบางส่วนเป็นอาจารย์พิเศษ ไม่มีการปฏิบัติการประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง แนวทางแก้ไข สถานศึกษาต้องมีการติดตามตรวจสอบความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการกิจกรรมงานเป็นระยะ มีผู้รับผิดชอบการดำเนินงานเพื่อการรวบรวมสารสนเทศ และผลการติดตามตรวจสอบมาใช้ปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องนอกจากจะแสดงว่าสถานศึกษาทำงานอย่างเป็นระบบแล้วยังเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมรับการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาจากหน่วยงานต้นสังกัด อย่างน้อย ๑ ครั้ง ภายใน ๓ ปีและการประเมินคุณภาพภายนอกอีกด้วย

                ด้าน C  (CHECKING)=อิทธิบาท ๔ พบว่ามีปัญหาอุปสรรคด้านการขาดความต่อเนื่องและชัดเจนในการติดตามประเมินผล การรายงานผลการประกันคุณภาพภายใน แนวทางแก้ไข ผู้อำนวยการสถานศึกษาต้องตรวจสอบความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการกิจกรรมงานของผู้รับผิดชอบการดำเนินงานเป็นระยะ  ตรวจสอบการรวบรวมสารสนเทศ และผลการติดตามตรวจสอบมาใช้ปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องทุกเดือน

ด้าน A (ACTION)=อิทธิบาท ๔ พบว่ามีปัญหาอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาด้านบกพร่องในการปฏิบัติงานมาแก้ไขยังไม่ต่อเนื่อง แนวทางแก้ไข ผู้อำนวยการสถานศึกษาต้องปรับปรุง แก้ไขการปฏิบัติงานที่พบว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน และมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ติดตาม ตรวจสอบแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ตามระยะเวลาที่เหมาะสมที่ผู้ปฏิบัติได้กำหนดไว้ว่าจะแก้ไขเสร็จ ทั้งนี้ เพื่อให้แน่ใจว่า ข้อบกพร่องที่พบ ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕