หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระปรีชา ขนฺติพโล (ท้าวบุบผา)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๙ ครั้ง
พุทธวิธีการสื่อสารศีล 5 เพื่อส่งเสริมชุมชนหมู่บ้านสันติสุข อำเภอปง จังหวัดพะเยา
ชื่อผู้วิจัย : พระปรีชา ขนฺติพโล (ท้าวบุบผา) ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๑๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ธรรมนิเทศ)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  บุญเลิศ โอฐสู
  กมล ฉายาวัฒนะ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2560
 
บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการคือ (๑) เพื่อศึกษาพุทธวิธีในการสื่อสารศีล ๕ ในชุมชนหมู่บ้านสันติสุข (๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวทางการสื่อสารศีล ๕ เพื่อการพัฒนาคุณภาพในชุมชนหมู่บ้านสันติสุข อำเภอปง จังหวัดพะเยา

ผลการวิจัย พบว่า โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน คือ การวิจัยเชิงคุณภาพจากเอกสาร ภาคสนาม และการวิจัยเชิงปริมาณ ได้มาจากแนวคิดเรื่องศีล ๕ พุทธวิธีการสื่อสารศีล ๕ ในชุมชนหมู่บ้านสันติสุข โดยการใช้วิธีการวิจัยผสมผสาน คือ การวิจัยเชิงคุณภาพภาคเอกสาร ภาคสนาม และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยพุทธวิธีการสื่อสารได้มาจากแนวความคิดเรื่องศีล ๕ มามาเป็นแนวทางในการแก้ไขใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อพัฒนาศักยภาพทางกายภาพและจิตภาพให้ดีขึ้น ดังนี้ คือ ๑) พุทธวิธี ๒) การสื่อสารศีล ๕ นำมาทำการวิจัยกับแนวทางการสื่อสารเพื่อการพัฒนาคุณภาพในชุมชนหมู่บ้านสันติสุข อำเภอปง จังหวัดพะเยาได้ต่อไป

ผลจากการวิเคราะห์และสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างประชากรสามารถสรุปได้ว่า มีการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในเรื่อง ศีล ๕ ไปใช้นั้นเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการดำเนินชีวิตที่ เป็นหลักการปฏิบัติให้คนในสังคมสามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข การมีศีลมีความสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม และการป้องกันปัญหาสังคมและชุมชนได้จากการควบคุมและขัดเกลาพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ศีลจึงเป็นบรรทัดฐานของคนในสังคม สามารถขัดเกลาจิตใจของพุทธศาสนิกชน ข้อมูลทั่วไปแสดงความถี่และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ ๓.๙๓ อยู่ในระดับมาก

               สรุปได้ว่า พระพุทธศาสนาได้วางหลักศีล ๕ ใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อเน้นทางด้านการปฏิบัตินำมาประยุกต์การพัฒนาคุณภาพชีวิต และขัดเกลาจิตใจสะท้อนภาพให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชุมชนและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในการประกอบสัมมาอาชีพให้เจริญก้าวหน้าและมีความสำคัญต่อการควบคุมพฤติกรรมทางด้านกาย วาจา ใจ ในการดำรงชีวิตและทำให้ชุมชนหมู่บ้านสันติสุขมีศีลธรรม จริยธรรมและเกิดการปรองดองสามารถสร้างจิตสำนึกที่ดีแก่ชุมชน และลด ละ เลิก อบายมุข โดยส่วนใหญ่ชุมชนหมู่บ้านสันติสุขเป็นชนเผ่าม้ง ที่ยังคงนับถือผีบรรพบุรุษ และใช้ควบคู่กับหลักศีล ๕ ในการดำเนินชีวิตให้ยั่งยืนต่อไปอย่างสันติสุข

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕