หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » จินตนา เฉลิมชัยกิจ
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๓ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องความงามของสตรีในพระพุทธศาสนา
ชื่อผู้วิจัย : จินตนา เฉลิมชัยกิจ ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๑๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

 

สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาความงามของสตรีในพระไตรปิฎกและอรรถกถาและ ๒)เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องความงามของสตรีในพระพุทธศาสนา

จากการศึกษาพบว่าความงามของสตรีในพระไตรปิฎกและอรรกกถา มีหลายมิติและมีคุณค่าใน    ด้าน คือ ๑) งามภายนอก เป็นความงามทางร่างกายที่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรม เมื่อเห็นแล้วเกิดความรู้สึกต่อสิ่งนั้นในลักษณะมองเห็นคุณค่า เช่น เกิดความพอใจ รักใคร่  อยากดู หรือเบิกบานใจ และ ๒) งามภายใน เป็นความงามที่มุ่งเน้นด้านสภาพจิตของบุคคล ให้มีสมรรถนะทางจิตที่ดี มีคุณธรรมประจำใจ เช่น การช่วยเหลือผู้อื่น  มีเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ นอกจากนี้แล้ว หลักธรรมที่ส่งเสริมความงามของสตรีที่เป็นเครื่องมือพัฒนาความประพฤติของสตรีให้งดงามสูงขึ้นตามลำดับคือ กุศลกรรม (ความดีงาม) ขันติ (ความอดทน)โสรัจจะ (ความว่าง่าย) อัปปมาทะ(ความไม่ประมาท) และ อริยมรรคมีองค์ ๘

             แนวคิดความงามของสตรีในพระพุทธศาสนาพบว่าให้คุณค่าความงามเชิงสุนทรียภาพต่อตนเอง ชุมชนและสังคม ความงามของสตรีมีคุณค่าและองค์ประกอบที่สำคัญ คือกิริยามรรยาทและวัตรปฏิบัติดีงาม (หรือนิสัยดีและจริยาวัตรดี) รวมทั้งคุณค่าของการพัฒนาตนเองให้มีคุณธรรม  ประจำใจอื่นๆ คือ กรรมดี (ทำดี พูดดี คิดดี) ควบคุมตนเองดีสงบเสงี่ยมดี ครองตนดี โดยไม่หลงลืม หรือประมาทเลินเล้อ และการพัฒนาตนเองตั้งแต่รากฐานจนถึงขั้นสูงตามหลักศีล สมาธิและปัญญา

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕