หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระโกศล มณิรตนา (ญึม)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๕ ครั้ง
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการบริหารเชิงพุทธของผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ภาคเหนือตอนล่าง (สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระโกศล มณิรตนา (ญึม) ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๑๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวชิรเมธี
  ประเทือง ภูมิภัทราคม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๗ เมษายน ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำทางการบริหารเชิงพุทธของผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ภาคเหนือตอนล่าง ๒) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการบริหารเชิงพุทธของผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ภาคเหนือตอนล่าง ๓) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการบริหารเชิงพุทธของผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ภาคเหนือตอนล่าง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูล จากแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง ๒๓๕ รูป/ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ส่วนวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน ๑๘ รูป/ท่าน เป็นการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และการจัดสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๑๐ รูป/ท่าน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

๑. คุณลักษณะภาวะผู้นำทางการบริหารเชิงพุทธของผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยภาคเหนือตอนล่างโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านการบริหารงานบุคลากรมากที่สุด รองลงมาด้านการจัดองค์กร, ด้านการกำกับดูแล, ด้านอำนวยการ และด้านการวางแผน ตามลำดับ

๒. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการบริหารเชิงพุทธของผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยภาคเหนือตอนล่าง พบว่า

๒.๑ ด้านการวางแผน คือ ๑) ส่งเสริมให้ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ในการวางแผนมหาวิทยาลัยให้มีความคล่องตัวสามารถมองเห็นทิศทางหรือเป้าหมายขององค์กรอย่างชัดเจน (จักขุมา) ๒) การจัดอบรมเชิงปฏิบัติพัฒนาผู้บริหารให้มีทักษะความชำนาญในการจัดทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัย (วิธูโร) ๓) การอบรมผู้บริหารให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีสามารถจูงใจโน้มนาวให้บุคลากรทำงานสอดประสานกันเป็นทีมอย่างสมัครสมานสามัคคี (นิสสฺยสัมปันโน)

๒.๒ ด้านการจัดองค์กร คือ ๑) ส่งเสริมการจัดโครงสร้างองค์กรการกำหนดอำนาจหน้าที่สายการบังคับบัญชาตามลำดับขั้นตอนเน้นการกระจายอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ (กายภาวนา)  ๒) การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรให้มีความมั่นคงยึดกฎเกณฑ์ระเบียน กฎหมายข้อบังคับต่างๆในการวินิจฉัยสั่งการ(ศีลภาวนา) ๓) ส่งเสริมการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยให้เป็นองค์กรที่มีความมั่นคงและเจริญงอกงามในคุณธรรมจริยธรรม (จิตภาวนา) ๔) การส่งเสริมการจัดการความรู้ สร้างมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ จัดการมหาวิทยาลัยให้มีความเป็นเลิศในด้านวิชาการ (ปัญญาภาวนา)

๒.๓ ด้านการบริหารจัดการบุคลากร คือ ๑). การฝึกอบรมให้บุคลากรมหาวิทยาลัยมีความประพฤติสุจริตดีงามมีความซื่อสัตย์ซื่อตรง(ศีลสิกขา) ๒) ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรทำงานด้วยความอดทนอดกลั้นขยันมั่นเพียรและมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน(สมาธิสิกขา) ๓) จัดอบรมพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถของบุคลากรมหาวิทยาลัยให้มีความคิดเห็น ความเชื่อถือ ทัศนคติ ค่านิยมต่างๆที่ดีงามถูก และมีความคิดสร้างสรรค์ (ปัญญาสิกขา)

๒.๔ ด้านการอำนวยการ คือ ๑) การจัดอบรมพัฒนาผู้บริหารให้มีความรอบรู้งาน รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎระเบียนต่างๆของมหาวิทยาลัย (ธัมมัญญุตา)๒) การส่งเสริมผู้บริหารรู้จักจุดมุ่งหมายของงาน สามารถวิเคราะห์เหตุปัญหาของมหาวิทยาลัยได้อย่างชัดเจน (อัตถัญญุตา) ๓) การฝึกอบรมพัฒนาผู้บริหารให้รู้จักตนเองว่ามีทักษะความรู้ ความสามารถอะไรบ้าง (อัตตัญญุตา) ๔) สนับสนุนให้ผู้บริหารรู้จักประมาณในการใช้จ่ายจัดซื้อจัดจ่าง (มัตตัญญุตา) ๕) ส่งเสริมให้ผู้ผู้บริหารรู้จักคุณค่าของเวลามีความรับผิดชอบทำหน้าที่การงานตรงเวลา เป็นเวลา และทันเวลา (กาลัญญุตา) ๖) การอบรมสร้างผู้บริหารให้รู้จักสังคมรู้จักบริบทกฎเกณฑ์ขนมธรรมเนียมประเพณีของมหาวิทยาลัยอย่างถ่องแท้ (ปริสัญญุตา) ๗) จัดอบรมพัฒนาผู้บริหารให้รู้จักบุคคลคือการตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้คนให้ถูกงาน (ปุคคลัญญุตา)

๒.๕ ด้านการกำกับดูแล คือ ๑) สนับสนุนให้ผู้บริหารนำกฎเกณฑ์ กฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับต่างๆมากำกับดูแลมหาวิทยาลัย (หลักนิติธรรม) ๒) ส่งเสริมให้ผู้บริหารกำกับดูแลมหาวิทยาลัยยึดหลักคุณธรรมจริยธรรม (หลักคุณธรรม) ๓) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้บริหารมีความตระหนักในความโปร่งใส บริสุทธิ์ยุติธรรม สามารถตรวจสอบได้ (หลักความโปร่งใส) ๔) ส่งเสริมการสร้างกลไกการมีส่วนร่วมเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมรับรู้ในกระบวนการตัดสินใจแก้ปัญหาสำคัญๆของมหาวิทยาลัย (หลักการมีส่วนร่วม) ๕) สนับสนุนการสร้างจิตสำนึกความตระหนักในสิทธิหน้าทีความรับผิดชอบต่อมหาวิทยาลัย (หลักความรับผิดชอบ) ๖) ส่งเสริมให้ผู้บริหารรู้จักพอประมาณในการใช้จ่ายโดยคำนึงถึงหลักความคุ้มค่า (หลักความคุ้มค่า)

 

๓. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการบริหารเชิงพุทธของผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยภาคเหนือตอนล่าง ใน ๕ ด้าน คือ  ๑) ด้านการวางแผน  ๒) ด้านการจัดองค์กร  ๓) ด้านการบริหารบุคลากร  ๔) ด้านการอำนวยการ ๕) ด้านการกำกับดูแล ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕