หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระคมกริช ธีรปญฺโญ
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๕ ครั้ง
การบูรณาการสมรรถนะของพระสอนศีลธรรมตามหลักกัลยาณมิตรในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระคมกริช ธีรปญฺโญ ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๑๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูศรีสุธรรมนิวิฐ
  พระมหาอุดร อุตฺตโร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการบูรณาการสมรรถนะของพระสอนศีลธรรมตามหลักกัลยาณมิตร ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่มีการบูรณาการสมรรถนะของพระสอนศีลธรรมตามหลักกัลยาณมิตร       ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ ตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบูรณาการสมรรถนะของพระสอนศีลธรรมตามหลักกัลยาณมิตร ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๓๒๖ คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้องมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ผลการวิจัย โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์สถิติสำเร็จรูป เพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติเชิงอนุมาน คือ สถิติทอดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) ทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis Tecniqes)

ผลการวิจัยพบว่า

๑. การบูรณาการสมรรถนะของพระสอนศีลธรรมตามหลักกัลยาณมิตร ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการเตรียมการสอนตามหลักกัลยาณมิตรธรรม ๗ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการวัดผลและประเมินผลตามหลักกัลยาณมิตรธรรม ๗   อยู่ในระดับมากทุกด้านตามลำดับคือ ด้านการเตรียมการสอนตามหลักกัลยาณมิตรธรรม ๗ ด้านการดำเนินการสอนตามหลักกัลยาณมิตรธรรม ๗ ด้านการใช้สื่อ/อุปกรณ์ในการสอนตามหลักกัลยาณมิตรธรรม ๗ ด้านการสร้างบรรยากาศในห้องเรียนตามหลักกัลยาณมิตรธรรม ๗ และด้านการวัดผลและประเมินผลตามหลักกัลยาณมิตรธรรม ๗

๒. ผลการเปรียบเทียบคุณภาพความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบูรณาการสมรรถนะของพระสอนศีลธรรมตามหลักกัลยาณมิตร ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ๑) บุคลากรที่มีตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบูรณาการสมรรถนะของพระสอนศีลธรรมตามหลักกัลยาณมิตร ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมไม่แตกต่าง (Sig= ๐.๔๘๒) ที่ระดับมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า บุคลากรที่มีสถานภาพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบูรณาการสมรรถนะของพระสอนศีลธรรมตามหลักกัลยาณมิตร ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ ทุกด้านไม่แตกต่างกัน ๒) บุคลากรที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบูรณาการสมรรถนะของพระสอนศีลธรรมตามหลักกัลยาณมิตร ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมไม่แตกต่าง (Sig= ๐.๔๒๕) ที่ระดับมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า บุคลากรที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบูรณาการสมรรถนะของพระสอนศีลธรรมตามหลักกัลยาณมิตร ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ ทุกด้านไม่แตกต่างกัน

๓. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบูรณาการสมรรถนะของพระสอนศีลธรรมตามหลักกัลยาณมิตร ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ มีดังนี้ ๑) ด้านการเตรียมการสอน คือ พระสอนศีลธรรม ได้มีการจัดเนื้อหากิจกรรม ประสบการณ์ต่างๆ ความสามารถ จัดการเตรียมการสอนอย่างมีระบบเป็นระเบียบ มีเวลาในการเตรียมการสอนแต่ละครั้ง สอดแทรกเนื้อหาสาระใหม่ๆ มีความตั้งใจมาทำการสอนเป็นไปอย่างเรียบร้อย ๒) ด้านการดำเนินการสอน คือ พระสอนศีลธรรมมีการเอาใจใส่ในการดำเนินการสอน มาประยุกต์เพิ่มเติมในการสอนทางเนื้อหาสาระพระพุทธศาสนา พร้อมหลักคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับนักเรียน มีความมุ่งมั่นด้วยการไม่ท้อถ้อยต่อความยากลำบาก ทั้งมีการหาอุปกรณ์เสริมในการสอนแนะนำ ๓) ด้านการใช้สื่อ/อุปกรณ์ในการสอน คือ พระสอนศีลธรรมมีการรู้จักดำเนินการในการใช้สื่ออุปกรณ์นั้น ที่จะต้องเตรียมมาเสริมช่วยในการสอน และใช้เทคนิคต่างๆให้หลากหลายเพื่อดึงดูดความสนใจ โดยส่วนมากมักใช้จิตวิทยาหรือสังเกตเหตุการณ์สอนกับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจในหลักธรรมะอย่างถ่องแท้ ๔) ด้านการสร้างบรรยากาศในห้องเรียน คือ พระสอนศีลธรรมได้มีการสร้างบรรยากาศภายในห้องเรียน คือ มีการสอดแทรกนันทนาการต่างๆ ด้วยการจัดกิจกรรมประกอบการเรียนการสอนในห้องเรียน ที่มุ่งให้สอดคล้องเนื้อหาสาระ เพื่อเพิ่มพูนทักษะให้กับการใช้สติปัญญา อันเป็นสร้างเสริมสร้างทักษะกระบวนการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ในการคิดการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นต่างๆ ทำให้นักเรียนไม่เบื่อหน่ายในการเรียนรู้ เกิดความสนใจในวิชาที่จะเรียน ทั้งไม่รู้สึกเบื่อหน่ายต่อการเรียนเนื้อหาสาระทางพระพุทธศาสนา ๕) ด้านการวัดผลและประเมินผล คือ พระสอนศีลธรรมมีการปฏิบัติการสอนโดยมีแบบการสอนในวิชาพร้อมทั้งให้สอดคล้องกิจกรรมที่เรียนอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ทำการวัดผลและการประเมินด้วยการกำหนดเป็นขั้นตอน ในการวางแผนการสอน ที่มุ่งให้เกิดการบูรณาการที่สมบูรณ์ ในรายวิชาพระพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับหลักสูตร เป็นประโยชน์สำคัญต่อการปฏิบัติงานมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕