หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » วิทูรย์ ธูปเพ็งทอง
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๕ ครั้ง
ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์ (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : วิทูรย์ ธูปเพ็งทอง ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๑๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  วรกฤต เถื่อนข้าง
  พระมหาอุดร อุตฺตโร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ๔ ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์ จำแนก ตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาและข้อเสนอแนะการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัย เซิงพรรณนา (DescriptiveResearch) เป็นทั้งเซิงปริมาณ และเซิงคุณภาพ โดยการวิจัยเซิงปริมาณ เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๑๕๗ คน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม สำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อคำนวณหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standardDeviation) แล้วทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที (t-test) และทดสอบค่าเอฟ (f-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (OneWayANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบ ความความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (LeastSignificantDifference: LSD) ส่วนการวิจัยเซิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (StructuredInterview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Keyinformants) จำนวน ๕ คน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ เซิงเนื้อหา (ContentAnalysis)

ผลการวิจัยพบว่า

๑.ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์มี ๗ด้าน ได้แก่ ๑)การรวบรวมข้อมลทั่วไปของเด็กพิเศษตามหลักสังคหวัตถุ๔๒)การคัดกรองประเภทความพิการทางการศึกษา/ส่งต่อ ตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ๓)การประเมินความสามารถพื้นฐานตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ๔)การจัดทำแผนให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัวและแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลตามหลักลังคหวัตถุ ๔ ๕) การให้บริการด้วยการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมตามหลักสังคหวัตถุ ๔๖)การประเมินความก้าวหน้าตามหลักสังคหวัตถุ ๔และ ๗) การนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและการส่งต่อตามหลักสังคหวัตถุ ๔โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการประเมิน ความสามารถพื้นฐานตามหลักสังคหวัตถุ ๔ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการรวบรวมข้อมูลทั่วไปของเด็กพิเศษตามหลักสังคหวัตถุ ๔ อยู่ในระดับปานกลาง

๒. ผลการเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามปัจจัยส่วน บุคคล พบว่า เพศ วุฒิการศึกษา และอาชีพ ของผู้ปกครองที่มีต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ ๔ โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ ส่วน อายุ และ รายได้ต่อเดือน ของผู้ปกครองที่มีต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ ๔โดยภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้

๓. แนวทางการพัฒนาและข้อเสนอแนะการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ๑) ด้านการรวบรวมข้อมูลทั่วไปของเด็ก พิเศษตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ควรจัดการอบรมให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กพิเศษในพื้นที่ระดับตำบลหมู่บ้านเป็นการทำงานเซิงรุก ๒) ด้านการคัดกรองประเภทความพิการทางการศึกษา/ส่งต่อตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ควรจัดการอบรมให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือครูโรงเรียนปกติเพื่อให้มีความรู้ความ เข้าใจที่ถูกต้องในการใช้แบบคัดกรองแบบทดสอบ กระบวนการคัดกรองและการส่งต่อ ๓) ด้านการ ประเมินความสามารถพื้นฐานตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ควรจัดทีมผู้เชี่ยวชาญในการประเมิน ความสามารถพื้นฐานของเด็กพิเศษโดยการประเมินมากกว่าหนึ่งครั้งต่อคนเพื่อผลการประเมิน ที่ถูกต้องแม่นยำ ๔) ด้านการจัดทำแผนให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัวและแผนการจัด การศึกษาเฉพาะบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ควรจัดทำแผนให้บริการช่วยเหลือด้วยการประสานงาน กับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ อย่างบูรณาการ ๔) ด้านการให้บริการด้วยการจัดกิจกรรมที่เหมาะสม ตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ควรจัดกิจกรรมร่วมกับขุมซนนอกสถานศึกษาเพื่อให้เด็กพิเศษได้เรียนรู้ ประสบการณใหม่ๆ เพื่อเป็นการพัฒนาให้เด็กพิเศษสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมปกติได้ ๖) ด้านการ ประเมินความก้าวหน้าตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ควรจัดทำข้อมูลการประเมินความก้าวหน้าอย่างละเอียด รอบคอบทุกประเด็นเพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างถูกต้องรวดเร็วทันเวลา และ ๗) ด้านการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและการส่งต่อตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ควรจัดครูไปเยี่ยมเด็กพิเศษตามสถานที่ ที่ได้ส่งต่อเด็กไปแล้วเพื่อให้ทราบชีวิตความเป็นอยู่ว่ามีสุขทุกข์หรือไม่อย่างไร 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕