หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระนิพนธ์ เทวธมฺโม (แก้วแหวน)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๑ ครั้ง
การประเมินผลการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต ๒(๒๕๕๑)
ชื่อผู้วิจัย : พระนิพนธ์ เทวธมฺโม (แก้วแหวน) ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสุตกิจบริหาร
  ผศ.ดร.วศิน กาญจนวณิชย์กุล
  ผศ.ดร. สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
 
บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประเมินผลการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของ

ครูผู้สอน และศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่แตกต่างกันในเรื่องเพศ และชั้นปี กับระดับความคิดเห็น
ต่อการสอนวิชาพระพุทธศาสนา โดยได้ทำการศึกษาประชากร ๒ กลุ่ม คือ ครูผู้สอนวิชา
พระพุทธศาสนา จำนวน ๓๐ คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ โดยได้สุ่มมาจำนวน
๖๘๗ คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามมี ๒ ประเภท ที่ใช้สอบถามครูผู้สอน และ
นักเรียน แล้วนำแบบสอบถามมาวิเคราะห์และประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อคำนวณค่าสถิติ
ต่าง ๆ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t - Test
ผลการวิจัยพบว่า ครูผู้สอนมีความคิดเห็น ด้านวัตถุประสงค์ของหลักสูตร อยู่ใน
ระดับสูง เช่น การสอนโดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ เลือกกิจกรรมโดยใช้เกณฑ์ความสนใจของ
นักเรียน มีการวางแผนและเตรียมการสอนตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งเลือกวิธีการสอนและกิจกรรม
ที่เหมาะสมกับวัยของนักเรียนตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และปรับวัตถุประสงค์ที่เป็นนามธรรม
ให้เป็นเชิงพฤติกรรม ส่วนการประเมินผลด้านปัจจัยนำเข้านั้น พบว่าอยู่ในระดับสูง เช่น นักเรียน
ชอบทำกิจกรรมมากกว่าฟังบรรยาย ครูผู้สอนมีความสนใจและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาพระพุทธศาสนา
รวมทั้งครูแนะนำให้นักเรียนค้นคว้าเพิ่มเติม สำหรับการประเมินผลด้านกระบวนการสอนพบว่า มี
ความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง เช่น มีการยกย่องนักเรียนที่ตั้งใจและสนใจวิชาพระพุทธศาสนา ครู
สอนตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ เช่น จากง่ายไปหายาก และมีการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งก่อนการสอนมีการกล่าวนำเข้าสู่บทเรียนทุกครั้ง เป็นต้น สำหรับการ
ประเมินผลด้านผลผลิตจากการสอนนั้นพบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง เช่น นักเรียนมีการ
พัฒนาจิตเพื่อช่วยเหลือเพื่อน โรงเรียน และครอบครัว นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาพระพุทธศาสนา
นักเรียนมีสุขภาพจิตที่ดีและควบคุมอารมณ์ได้ รวมทั้งนักเรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ใน
ชีวิตประจำวัน เป็นต้น นอกจากนั้นครูผู้สอนได้มีข้อเสนอแนะที่จะให้ครูผู้สอนวิชานี้บังเกิดผลดี
ที่สุดแก่นักเรียน คือ ครูควรสอนโดยเน้นฝึกปฏิบัติหรือลงมือกระทำร่วมกันอย่างแท้จริง เช่น การ
อาราธนาศีล ๕ วิธีการกราบ การไหว้ การประเคนของที่ถูกต้อง และจัดพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น
เวียนเทียน ตักบาตร หรือวันสงกรานต์ เป็นต้น เพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าและภาคภูมิใจใน
วัฒนธรรม และศาสนาของตนเอง
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ ได้ประเมินผลการสอนวิชา
พระพุทธศาสนา ด้านวัตถุประสงค์ของหลักสูตร นักเรียนมีความคิดเห็นในระดับสูง เช่น ครูมี
การกล่าวนำเข้าสู่บทเรียน ครูเตรียมการสอนตรงตามจุดมุ่งหมาย และครูมีการบอกจุดมุ่งหมายแก่
นักเรียน รวมทั้งครูสอนเน้นทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติ เป็นต้น การประเมินผลด้านปัจจัยนำเข้าพบว่า
มีความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง เช่น ครูมีความสนใจและตั้งใจสอน นักเรียนชอบทำกิจกรรม
มากกว่าฟังบรรยาย และครูมีการถามนักเรียนขณะที่สอนอยู่เสมอ เป็นต้น การประเมินผลด้าน
กระบวนการสอนพบว่า อยู่ในระดับสูง เช่น นักเรียนแสดงความเคารพครูผู้สอนเป็นอย่างดี ครูที่
สอนวิชาพระพุทธศาสนามีความกระตือรือร้นที่จะสอน และมีการสอนตามลำดับขั้นตอน เช่น
จากง่ายไปหายาก เป็นต้น การประเมินผลด้านผลผลิตพบว่า อยู่ในระดับสูง เช่น นักเรียนตั้งใจ
ตอบแทนพระคุณของพ่อ – แม่ ครู และโรงเรียน นักเรียนสามารถนำหลักธรรมไปใช้ใน
ชีวิตประจำวันได้ เป็นต้น ผลการทดสอบสมมติฐาน ระหว่างเพศ กับความคิดเห็นพบว่า มีความ
แตกต่างกัน เช่น กิจกรรมต่าง ๆ ที่ครูเตรียมมาสอนเรียนกันอย่างมีความสุข ครูมีการใช้สื่อการ
สอนที่น่าสนใจ ครูที่สอนมีเทคนิค ลีลาการสอนที่เร้าใจ และนักเรียนช่วยครูผลิตสื่อการสอน
รวมทั้งครูมีการทดสอบก่อนสอน และนักเรียนยินดีช่วยงานทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น ผลการ
เปรียบเทียบความแตกต่างระดับชั้น กับการประเมินผลการสอนพบว่า มีความแตกต่างกัน ได้แก่
ครูมีการกล่าวนำเข้าสู่บทเรียน สื่อต่าง ๆ ที่เตรียมมาสอนมีความทันสมัย ครูมีการถามนักเรียน
ขณะที่สอนอยู่เสมอ รวมทั้งครูที่สอนมีบุคลิกที่น่าเลื่อมใส ครูผู้สอนใจดีทุกคน และนักเรียน
สามารถนำความรู้ไปสอบปลายภาคได้ ส่วนในข้ออื่น ๆ ไม่มีความแตกต่างกัน

Download : 255234.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕