หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอานนท์ ธมฺมโชโต (คนธาร์)
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๕ ครั้ง
ศึกษาสารูปพระสงฆ์ไทยในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระอานนท์ ธมฺมโชโต (คนธาร์) ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๑๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวชิรเมธี
  วรกฤต เถื่อนช้าง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ศึกษาสารูปพระสงฆ์ไทยในพระพุทธศาสนาเถรวาท มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาสารูปที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาสารูปพระสงฆ์ไทย ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้สารูปแก้ปัญหาวิกฤติด้านศรัทธาทางพระพุทธศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

             การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร โดยทำการศึกษาจาก เอกสารปฐมภูมิ (Primary sources) คือ พระไตรปิฎก คัมภีร์อรรถกถาและเอกสารทุติยภูมิ (Secondary Sources) คือ เอกสาร งานวิจัย และตำราวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำมาวิเคราะห์สรุปข้อมูลในเชิงพรรณนา

             ผลการวิจัยพบว่า

๑) สารูป คือ ความประพฤติดีงามทางกาย และทางวาจา การรักษากาย และวาจาให้เรียบร้อย ข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกาย และวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงาม การรักษาปกติตามระเบียบวินัยตามพุทธบัญญัติไว้ หรือ หมายถึง เสขิยวัตร มีความสำคัญต่อการควบคุมกาย วาจา และใจของคนให้เรียบร้อย สงบร่มเย็น และเป็นสุข ขัดเกลาพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต มีผลต่อกิจกรรม พิธีกรรม พฤติกรรม “สารูป” และวินัยข้อบัญญัติที่มาในพระปาฏิโมกข์ เสขิยวัตร ของพระภิกษุเป็นวัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษาเป็นธรรมเนียมเกี่ยวกับมารยาทที่ภิกษุพึงสำเหนียกหรือพึงฝึกปฏิบัติ มี ๗๕ สิกขาบท สารูปมี ๔ หมวด หรือ ๔ ประเภท ว่าด้วย ๑. สารูป ๒๖ สิกขาบท,. โภชนปฏิสังยุต ๓๐ สิกขาบท,. ธรรมเทศนาปฏิสังยุต ๑๖ สิกขาบท,. ปกิณกะ ๓ สิกขาบท สารูปที่ปรากฏในพระพุทธศาสนาสมัยพุทธกาล กรณีศึกษาพระพุทธเจ้า พระอัสสชิ พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะเถระ พระมหากัสสปะ พระอานนท์ พระจักขุบาล และพระมหากัจจายนะ ทั้ง ท่าน จะมีสารูปที่โดดเด่นแตกต่างกันแต่ละท่านประพฤติกาย วาจา ใจ ได้ครบบริสุทธิ์บริบูรณ์ทุกท่านด้วยเหตุที่ท่านทั้งหลายเป็นพระอรหันต์ด้วยกันทั้งสิ้น

 

๒) การประพฤติปฏิบัติตนของพระสงฆ์ไทย และพระสงฆ์ไททุกรูปต่างก็ยึดหลักพระธรรมวินัยในการประพฤติปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม สมควรแก่สมณสารูปของตน โดยยึดหลักการปฏิบัติตามพระธรรม พระวินัยในเสขิยวัตร ๗๕ เริ่มตั้งแต่การนุ่งห่ม การบริโภค และการแสดงธรรมหากแต่จะแตกต่างกันไปตามบุคคล บริบทของสังคม ก็ด้วยความสามารถของแต่ละท่านที่เข้าใจสถานการณ์ เข้าใจในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอันยังศรัทธาของประชาชนให้เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนาให้สามารถยั่งยืนนานอยู่คู่กับประชาชนคนไทยสืบไป ส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างศรัทธาให้เกิดแก่ประชาชนโดยแต่ละรูปมีความประพฤติที่ดียึดระเบียบเคร่งครัดในพระธรรมวินัยข้อวัตรข้อปฏิบัติที่เหมาะที่ควรเป็นไปในทิศทางเดียวกันหากแต่ละรูปแต่ละท่านก็มีความโดดเด่นที่แตกต่างกันไปตามหน้าที่ ตามฐานะของแต่ละท่าน

๓) แนวทางการประยุกต์ใช้สารูปแก้ไขวิกฤตด้านศรัทธาทางพระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทย พบว่า แต่ละท่านมีพฤติกรรมการประพฤติการปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัยเป็นพื้นฐานเดิมส่วนใหญ่ใช้วิธีการแสดงธรรมและการปฏิบัติกรรมฐานในการสร้างศรัทธาแก่พุทธบริษัท จากประเด็นเหล่านี้ไดมีการบัญญัติมารยาทขึ้นเป็นกฎเกณฑ์ใช้สืบต่อกันมาตันบัญญัติมารยาทต่างๆ ที่เก่าแก่และถือเป็นต้นแบบของมารยาทไทยปัจจุบัน คือ อภิสมาจาร ซึ่งเป็นหมวดพระวินัยในพระพุทธศาสนา

ความสง่างามในศีลาจารวัตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังความเลื่อมใสศรัทธาแก่ผู้พบเห็นและพระพุทธองค์ทรงอบรมสั่งสอนพระภิกษุสงฆ์ให้มีศีลาจารวัตรงดงามเรียบร้อย โดยทรงบัญญัติหมวดพระวินัยเสขิยวัตรขึ้น เมื่อพระภิกษุสงฆ์ปฏิบัติตามพระวินัยหมวดนี้แล้ว ทำให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย สงบ สำรวม  สง่างาม แก่ผู้ที่มาพบเห็น เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระรัตนตรัยตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบันนี้ พระพุทธศาสนาได้หยั่งรากลึกลงในประเทศไทย ชนชาติไทยได้คุ้นเคยกับศีลาจารวัตรอันงดงามของพระภิกษุสงฆ์จนซึมซับและถ่ายทอดกิริยามารยาทที่นุ่มนวลนั้น อบรมสั่งสอนลูกหลานสืบทอดต่อๆ กันมา

หลักมารยาทของพระสงฆ์ในอภิสมาจารจึงเปรียบเหมือนเพชรน้ำหนึ่งที่ทำให้คนไทย พิเศษ มีความอ่อนโยน นุ่มนวล น่ารัก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ค่อยมีปรากฏในชนชาติอื่นมากนัก จึงสมควรที่ ลูกหลานไทยยุคปัจจุบันจะต้องกลับมาทบทวน บกฝนตนเองอีกครั้งหนึ่งเพื่อรักษาวัฒนธรรมอัน ทรงคุณค่า และเป็นเอกลักษณ์ของชนชาวไทย โดยมีอภิสามจารของพระสงฆ์เป็นแบบอย่างในการ ประพฤติปฏิบัติซึ่งส่งผลดีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพราะสามารถยังศรัทธาให้เกิดขึ้นได้ในทันที แก่ผู้พบเห็น

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕