หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาวชิราวุฒิ วชิรเมธี (แก้วจันทร์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๕ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์การบรรลุธรรมของบัณฑิตสามเณร
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาวชิราวุฒิ วชิรเมธี (แก้วจันทร์) ข้อมูลวันที่ : ๑๘/๑๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สิทธิโชค ปาณะศรี
  สวัสดิ์ อโณทัย
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๘ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) การบรรลุธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา    เถรวาท ๒) ประวัติการสั่งสมบารมีและการบรรลุธรรมของบัณฑิตสามเณร ๓) วิเคราะห์การบรรลุธรรมของบัณฑิตสามเณรในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมา เรียบเรียงบรรยายเป็นเชิงพรรณนาเสนอผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและแก้ไขตามคำแนะนำ      

                จากการศึกษาพบว่า

          ๑. การบรรลุธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท หมายถึง สำเร็จ หรือถึงจุดหมายในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่การเข้าใจธรรมในระดับต้นๆ คือ ระดับโลกิยะ จนถึงเข้าใจเข้าถึงธรรมในระดับมรรคผล คือ ระดับโลกุตตระ ดังนั้น คนที่เข้าสู่กระบวนการฝึกตนแล้ว ย่อมประสบความเป็น      พระอริยบุคคลระดับต่างๆ กันไป กล่าวโดยย่อ คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และ    พระอรหันต์

          ๒. ประวัติการสั่งสมบารมีและการบรรลุธรรมของบัณฑิตสามเณร ได้ทราบว่า เคยเกิดเป็นคนเข็ญใจในสมัยพระกัสสปะพุทธเจ้า วันหนึ่งตนและภรรยาได้ถวายภิกษาแก่พระพุทธเจ้า ทำให้ตนเกิดความปลื้มใจ หลังจากพระพุทธเจ้าฉันเสร็จแล้วทรงทำการอนุโมทนา มหาทุคตะจึงกลายเป็นเศรษฐี ตนถวายทานตลอดอายุ เสียชีวิตไปเกิดในเทวโลก จุติมาปฏิสนธิในครรภ์ของธิดาคนโตในตระกูลอุปัฏฐากพระสารีบุตร เมื่อคลอดมามารดาจึงตั้งชื่อว่า บัณฑิต เมื่อโตได้ ๗ ขวบ จึงขอบรรพชากับพระสารีบุตร เมื่อบวชได้ ๘ วัน ก็บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์เพียงเพราะฟังธรรม ๔ ข้อของพระพุทธเจ้า

          ๓. วิเคราะห์การบรรลุธรรมของบัณฑิตสามเณรในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ได้ทราบว่า การเจริญวิปสสนาภาวนา มีแนวทางปฏิบัติ ๒ แบบ คือ สมถยานิก การปฏิบัติวิปสสนาโดยอาศัยสมถะเปนพื้นฐาน ทําฌานใหเกิดขึ้นจนมีวสีในองคของฌานทั้ง ๕ คือ วิตก วิจาร ปติ สุข เอกัคคตา เมื่อจิตถอนออกจากฌานแลว จึงพิจารณาดวยหลักวิปสสนาจนเห็นความเปนไตรลักษณของรูปนาม สวนวิปสสนายานิก คือ การปฏิบัติวิปสสนาลวนๆ โดยอาศัยขณิกสมาธิที่มีเฉพาะอยูในอารมณ์ปัจจุบันขณะนั้นๆ เป็นการเจริญปญญาเพื่อเขาไปรูสภาวะของรูปนามตามความเปนจริงจนเกิดวิปสสนาญาณ

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕