หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสมุห์กฤตภาส สุกิจฺโจ (โชติการ)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๐ ครั้ง
ศึกษาการรักษาอุโบสถศีลของสตรีที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสมุห์กฤตภาส สุกิจฺโจ (โชติการ) ข้อมูลวันที่ : ๑๘/๑๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูโกศลอรรถกิจ
  อุทัย เอกสะพัง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๘ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

   วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ ได้แก่ ๑) เพื่อศึกษาการรักษาอุโบสถศีลของสตรีที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท ๒) เพื่อศึกษาการรักษาอุโบสถศีลของสตรี ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การรักษาอุโบสถศีลของสตรีที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการทบทวนเอกสาร ข้อมูลจากการสัมภาษณ์สตรีที่รักษาอุโบสถศีล และวิเคราะห์ข้อมูลจากตำราชั้นปฐมภูมิ และทุติยภูมิ

           ผลจากการศึกษาพบว่า สตรีในปัจจุบันส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาอุโบสถศีลที่ยังไม่ชัดเจน ยังไม่ทราบถึงการรักษาอุโบสถศีลให้พิเศษยิ่ง ๆ ขึ้น นั้นว่ามีการรักษา ๓ อย่าง คือ ปกติอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันเฉพาะวันที่กำหนดปฏิชาครอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันครั้งละ ๓ วัน ปาฏิหาริยปักขอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันเป็นประจำ ปัจจุบันนี้สตรีนิยมรักษาอุโบสถศีล ในวันพระช่วงเข้าพรรษาเพียงเดือนละ ๔ ครั้งในวันพระ พอออกพรรษาแล้วผู้มารักษาอุโบสถศีลก็ลดน้อยลงพบกว่าสตรีที่จะรักษาอุโบสถศีลตลอดชีวิตนั้นมีจำนวนน้อยมาก

        วิธีการรักษาอุโบสถศีล สตรีส่วนใหญ่ในปัจจุบันไปสมาทานขอศีลกับพระที่วัด เพราะที่วัดสะดวกกว่าการรักษาอุโบสถปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ทางวัดกำหนดไว้ โดยเริ่มจากในตอนเช้าชำระร่างกายให้สะอาด แต่งกายด้วยชุดขาว หรือชุดสุภาพ นำภัตตาหารมาร่วมทำบุญที่วัด ทำวัตรสวดมนต์ประกาศวันอุโบสถ สมาทานอุโบสถศีล รับศีล ๘ มารักษา เมื่อถึงเวลาที่ทางวัดกำหนดก็จะร่วมกันปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ เดินจงกรม ฟังเทศน์ฟังธรรม และสวดมนต์ทำวัตรเช้า - เย็น ซึ่งวิธีดังกล่าวนี้นิยมปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในสังคมปัจจุบัน การรักษาอุโบสถศีลนั้นไม่เคร่งครัดในการสำรวมระวังกาย วาจา ใจ ไม่ได้อธิษฐานจิตตั้งความปรารถนาในการรักษาเพื่อวัตถุประสงค์อันยิ่งใหญ่

             การวิเคราะห์ผลการรักษาอุโบสถศีลของสตรีมีผลต่อคุณภาพชีวิตนั้น พบว่าส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านสุขภาพของผู้ปฏิบัติเองที่แก่ตัวลงทำให้ ปวดขาปวดเข่า ยืน เดิน นั่งนอนไม่สะดวก สถานที่วัดไม่เอื้ออำนวย ไม่สะดวกสัปปายะ ผลทางด้านต่าง ๆ ของผู้ที่มารักษาอุโบสถศีล มีความปรารถนาให้ตัวเองมีสุขภาพแข็งแรง มีจิตใจเบิกบานได้ผลานิสงส์ มีการสะสมบุญ เมื่อตายไปขอให้ไปสู่สุคติโลกสวรรค์ หากต้องเกิดอีกขอได้เกิดเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนาและได้เกิดทันศาสนาพระศรีอริยเมตไตย และขอให้ครอบครัวประสบแต่ความสุขความเจริญลูกหลานว่านอนสอนง่าย ไม่ถูกคนอื่นเบียดเบียน กิจการงานเจริญก้าวหน้ามั่นคง ร่ำรวย และสุดท้ายขอให้บ้านเมืองสงบสุข อันเป็นความปรารถนาทางโลกียะมากกว่าโลกุตตระ  

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕