หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » PHRA U TEJANYANA
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๔ ครั้ง
แนวทางการอนุรักษ์อัตลักษณ์ของพระสงฆ์กลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ชื่อผู้วิจัย : PHRA U TEJANYANA ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๑๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีรัตนบัณฑิต
  แสวง นิลนามะ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์๓ ประการคือ (๑) เพื่อศึกษาบริบททางสังคมและการอนุรักษ์อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน (๒) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และ (๓) เพื่อเสนอแนวทางของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสารเชิงคุณภาพด้วยการพรรณนา และการสัมภาษณ์เชิงลึก

ผลการวิจัยพบว่า ชาวไทใหญ่ก็เป็นเช่นเดียวกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ เช่น ชาวไทดำเป็นต้น ที่ได้รับอิทธิพลของรัฐชาติและวาทกรรมความทันสมัยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของตน ผู้วิจัยได้นำกรณีศึกษาชาวไทใหญ่อธิบายการแปรเปลี่ยนไป ในการแสดงออกของอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ ซึ่งผู้เขียนได้นำเสนอให้เห็นว่า การแสดงอัตลักษณ์ที่แปรเปลี่ยนไป เกิดจากปฏิสัมพันธ์ทางด้านความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครอง ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ชาวไทใหญ่ไม่อาจปฏิเสธได้ เมื่อประเทศเข้าสู่กระแสแห่งรัฐชาติ รูปแบบความสัมพันธ์เชิงอำนาจนี้มีอิทธิพลที่ทำให้ ไทใหญ่กลายเป็นคนไทย และส่งผลต่อการแสดงออกอัตลักษณ์วัฒนธรรมของชาวไทใหญ่

ดุษฎีนิพนธ์นี้ได้แนวคิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์อธิบายถึงการเกิดเป็นรัฐชาติการเกิดของ จิตสำนึกร่วมกัน๖ ประการ ได้แก่ (๑) การสืบสายเลือดเดียวกัน (๒) การมีเผ่าพันธุ์ร่วมกัน (๓) มีกลุ่มภาษามาจากรากเหง้าเดียวกัน (๔) มีศาสนาเดียวกัน (๕) มีพื้นฐานดินแดนเดียวกัน (๖) มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมร่วมกันและที่สำคัญนั้นกลไกหรือเงื่อนไขสำคัญที่จะก่อให้เกิดจิตสำนึกร่วมเพื่อเป็นกลไกสร้าง ชาตินิยมของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยเสนอแนวทางอย่างกว้าง ๓ ประการ คือ (๑) มิติทางประวัติศาสตร์ (๒) ศาสนา (๓) ดินแดนที่ทำให้เป็นคนไทยได้เป็นแบบในการอธิบายและวิเคราะห์แนวทางการอนุรักษ์อัตลักษณ์ของพระสงฆ์ไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ๖ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านภาษา ๒) ด้านวัฒนธรรม ๓) ด้านศิลปะ ๔) ด้านอาหาร ๕) ด้านเครื่องแต่งกาย และ ๖) การเป็นอยู่

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕