หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » รอบทิศ ไวยสุศรี
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๗ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์พระเครื่องในฐานะเป็นกุศโลบายในการปฏิบัติธรรม(๒๕๕๑)
ชื่อผู้วิจัย : รอบทิศ ไวยสุศรี ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  รศ.ดร. วัชระ งามจิตรเจริญ
  พระสุธีวรญาณ(ณรงค์ จิตฺตโสภโณ)
  พระสุธีวรญาณ(ณรงค์ จิตฺตโสภโณ)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
 
บทคัดย่อ

      งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาวิเคราะห์พระเครื่องในฐานะกุศโลบายในการปฏิบัติธรรม จากผลการวิจัยพบว่า คำว่า"พระเครื่อง"นั้น มาจากคำว่า"พระเครื่องราง" หมายถึงพระพุทธรูปองค์เล็กๆ ที่นับถือว่าเป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันอันตราย โดยในสมัยเริ่มแรกนั้น ถูกสร้างขึ้นในลักษณะของพระพิมพ์ที่สร้างไว้เพื่อสืบอายุพระศาสนา แต่ไม่สามารถระบุชัดเจนได้ว่า ในประเทศไทยนั้น มีคติความเชื่อในการนำพระพิมพ์ต่างๆไปปลุกเสกสร้างเป็นพระเครื่องกันตั้งแต่สมัยใดการสร้างพระเครื่องให้ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักที่โบราณจารย์ได้วางเอาไว้นั้นมีกระบวนการในการสร้างที่ละเอียดซับซ้อนหลายขั้นตอน การบวงสรวงไหว้ครูบาอาจารย์เพื่อขอบารมีให้มาช่วยในการสร้างพระเครื่อง  การปลุกเสกพระเครื่องด้วยการทำสมาธิภาวนาท่องบ่นมนต์คาถาต่างๆ ให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ตามที่ต้องการพระเครื่องมีบทบาทอยู่ในวิถีชีวิตและความเชื่อขิงคนไทยเป็นอย่างมาก บางคนบูชาพระเครื่องในฐานะเป็นเครื่องรางของขลังที่สามารถช่วยคุ้มครองป้องกันอันตราย พกพาไปไหนก็เป็นที่รักของผู้พบเห็น บางคนบูชาพระเครื่องในฐานะเป็นปูชนียวัตถุทางพระพุทธศาสนา เป็นอนุสสติ เป็นสัญลักษณ์ที่ระลึกไว้ให้ผู้ใช้พระเครื่องได้มีโอกาศกราบไหว้บูชาระลึกถึงพระรัตนตรัย บางคนก็บูชาพระเครื่องในฐานะเป็นกุศโลบายในการปฏิบัติธรรม
Download :  255237.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕