หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อมรรัตน์ ตันติแสงหิรัญ
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๓ ครั้ง
การบริหารความเสี่ยงและการตัดสินใจเชิงพุทธบูรณการสำหรับการลงทุนในตลาดการเงินออนไลน์
ชื่อผู้วิจัย : อมรรัตน์ ตันติแสงหิรัญ ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๐๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาขุนทอง เขมสิริ
  พระสุธีรัตนบัณฑิต (สุทิตย์ อาภากโร)
  พิพัฒน์ ยอดพฤติการ
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการการบริหารความเสี่ยงกับการตัดสินใจ สำหรับการลงทุนในตลาดการเงินออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารความเสี่ยงและการตัดสินใจสำหรับการลงทุนในตลาดการเงินออนไลน์ตามศาสตร์สมัยใหม่ ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการบริหารความเสี่ยงและการตัดสินใจสำหรับการลงทุนในตลาดการการเงินออนไลน์ ๓) เพื่อบูรณาการการบริหารความเสี่ยงและการตัดสินใจสำหรับการลงทุนในตลาดการเงินออนไลน์ด้วยหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการบริหารความเสี่ยงและการตัดสินใจ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้

๑. การบริหารความเสี่ยงและการตัดสินใจสำหรับการลงทุนในตลาดการเงินออนไลน์ตามศาสตร์สมัยใหม่ กระบวนการลงทุนและปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของความเสี่ยงบนระบบ MetaTrader4 มีดังนี้ ๑) ยอดเงินลงทุน ๒) มาร์จิ้นและอัตราทด ๓) ระดับของมาร์จิ้น (Margin Level) ๔) ปริมาณสถานะบัญชี ๕) ค่าความเปลี่ยนแปลงราคาสินค้า ๖) อัตราดอกเบี้ยข้ามคืน ๗) อัตราเงินสกุลต่างประเทศที่ใช้ ๘) ความน่าเชื่อถือของนายหน้าตัวแทน  ๙) กฎหมายที่ใช้ในการส่งคำสั่งซื้อขาย ๑๐) ระบบการออนไลน์และสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต ในนำทฤษฎีทางคณิตศาสตร์มาใช้ในการตัดสินใจการลงทุน เพื่อคาดเดาราคาและปิดความเสี่ยงของการลงทุน การใช้ Indicator หรือการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อความพอเพียงของเงินลงทุน สามารถลดความเสี่ยงในการลงทุนได้บางส่วนเท่านั้น แต่ไม่มีทฤษฎีใดเลยที่สามารถบอกทิศทางตลาดได้ถูกต้องทั้งหมด เนื่องจากศาสตร์สมัยใหม่เป็นศาสตร์ที่ใช้ข้อมูลอดีตมาประมวลผลเพื่อคาดเดาเหตุการณ์ในอนาคต โดยขาดการใช้ข้อมูลในปัจจุบันมาเชื่อมโยง    ซึ่งการนำข้อมูลปัจจุบันมาประมวลผลเป็นไปได้ยาก เป็นจุดอ่อนของทฤษฎีต่างๆ เนื่องจากมีตัวแปรหลายปัจจัยในตลาด ทั้งที่คำนวณได้ทางคณิตศาสตร์และทางจิตวิทยา ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะนำมาประมวลผลผ่านสมองกล

๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการบริหารความเสี่ยงและการตัดสินใจสำหรับการลงทุนในตลาดการการเงินออนไลน์ คุณธรรมที่สำคัญ ๒ ข้อ คือ ๑. สติ  ๒. ปัญญา หากมีปัญญารอบรู้บนข้อมูลที่ครบถ้วน การตัดสินใจในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นก็จะไม่ผิดพลาด ทางพุทธศาสนาเน้นคำสอนของการนำปัญญาและสติมาใช้ในการจัดการความเสี่ยง โดยอาศัยสมาธิ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนและครบถ้วนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยธรรมที่ช่วยส่งเสริมในการช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดจากข้อมูลไม่ครบหรือไม่มีความรู้คือ ๑. จักขุมา ๒. วิธูโร ๓. นิสสยสัมปันโน นอกจากนี้พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ให้ใคร่ครวญแล้วทำจึงดีบนสัมมาทิฏฐิ การพิจารณาคุณค่าแท้คุณค่าเทียมว่าจริงหรือไม่คือใช้ปัญญาในการใคร่ครวญให้ดี ว่าเทรดไปแล้วคุ้มกับเงินไหม ถ้ามีทั้งปรโตโฆสะและโยนิโสมนสิการก็จะคุมความเสี่ยงได้ จากสติ ที่สมบูรณ์ การนำอุเบกขาธรรมซึ่งถือเป็นธรรมที่มีอุปการะมาก ในการที่จะให้จิตมีสมาธิ ความนิ่งจนสามารถเห็น ความเสี่ยงได้ถี่ถ้วนและพิจารณาจนเกิดปัญญา ในการนำหลักธรรมมาแก้ปัญหาความเสี่ยงและการตัดสินใจ

๓) เพื่อบูรณาการการบริหารความเสี่ยงและการตัดสินใจสำหรับการลงทุนในตลาดการเงินออนไลน์ด้วยหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการบริหารความเสี่ยงและการตัดสินใจ

งานวิจัยนี้ได้เสนอโมเดลแห่งความความสำเร็จ (Triangles Model of Successful) คือ สติ สมาธิและปัญญา เพื่อบูรณาการการบริหารความเสี่ยงและการตัดสินใจ การประยุกต์ใช้โดยการนำสติคู่สมาธิมาพิจารณาความเสี่ยงและใช้ปัญญาคู่สมาธิในการนำหลักธรรมมาพิจารณาเพื่อปิดความเสี่ยงของการตัดสินใจบนการคาดเดาราคาสินค้าจากการใช้ Indicator หรือการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เนื่องจากการลงทุนในตลาดการเงินออนไลน์เป็นตลาดที่มีความเสี่ยงสูง มีการเปลี่ยนแปลงตลอด ๒๔ ชั่วโมง การทำกำไรในตลาดค่าเงินออนไลน์ไม่ยากและไม่ง่าย ขึ้นอยู่กับสติและการควบคุมจิตใจในการตัดสินใจในการลงทุน เริ่มตั้งแต่ก่อนการลงทุน ขณะลงทุนและการจบสถานะการลงทุนเป็นภาพกงล้อหมุนเวียนต่อเนื่องไป ความเสี่ยงมีอยู่ในทุกขณะการลงทุน สติจึงเป็นหนทางเดียวในความไม่ประมาท การพลาดเพียงครั้งเดียว ย่อมหมายถึงการสูญเสีย ความเสียหายในการลงทุน

 

บทสรุป จากงานวิจัยในภาพรวมของการทดสอบการควบคุมความเสี่ยง ตลาดการเงินออนไลน์นี้ ผลตอบแทนมหาศาลและสามารถสูญเงินลงทุนได้ในพริบตา ดังนั้นการควบคุมความเสี่ยงและการตัดสินใจขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความคาดหวังเฉพาะตัว ไม่มีรูปแบบที่เป็นสูตรสำเร็จ มีเพียงการบริหารจัดการโภคทรัพย์ด้วยหลักทิฎฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔ คบคนดีเป็นมิตร ด้วยหลักอิทธิบาทธรรม ฆราวาสธรรมและสังคหวัตถุ ๔ โยนิโสมนสิการ เคร่งครัดในระเบียบ วิธีปฏิบัติอย่างมีวินัย ตามหลักมงคลสูตร เป็นต้น ที่สามารถนำไปบริหารความเสี่ยงและการตัดสินใจที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนและการดำเนินชีวิต 

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕