หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สิทธรัตน์ สงึมรัมย์
 
เข้าชม : ๑๖๕๙๐ ครั้ง
รูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขตามหลักพุทธธรรมสำหรับเยาวชน: ศึกษากรณีโรงเรียนสระบุรีวิทยาคม จังหวัดสระบุรี
ชื่อผู้วิจัย : สิทธรัตน์ สงึมรัมย์ ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๒/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  บุญเลิศ โอฐสู
  แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

                 งานวิจัยเรื่องรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขตามหลักพุทธธรรมสำหรับ เยาวชน: ศึกษากรณีโรงเรียนสระบุรีวิทยาคม จังหวัดสระบุรี  มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตของเยาวชนไทยในปัจจุบัน   (๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมสำหรับเยาวชนเพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข  (๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขของเยาวชนด้วยหลักพุทธธรรม  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาจากเอกสาร  และการสัมภาษณ์เชิงลึก จากการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษา จำนนวน ๕๐ คน เป็นชาย ๒๐ คน  เป็นหญิง ๓๐ คน 

ผลการวิจัยพบว่า  เยาวชน คือวัยที่มีความเป็นตัวของตัวเองค่อนข้างมาก  อารมณ์แปรปรวนเปลี่ยนแปลงง่าย เป็นวัยที่มีพัฒนาการของบุคลิกภาพอย่างชัดเจน  ถ้าการเรียนรู้ที่ผ่านมาดีจะมีบุคลิกภาพดีด้วย  เป็นวัยที่พยายามค้นหาความต้องการที่แท้จริง เรียนรู้บทบาทหน้าที่และพัฒนาความสามารถเฉพาะตน  เพื่อที่จะวางแผนชีวิตต่อไปในอนาคต  เป็นพลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต 

สถาบันศาสนา มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเยาวชนในการสร้างพลังทางด้านจิตใจ ให้ความรู้สึกปลอดภัยจากความกลัวและปลอดภัยจากความวิตกกังวล  ช่วยให้สถาบันครอบครัว และสถาบันการปกครองทำหน้าที่ได้เข้มแข็งยิ่งขึ้น  ยึดเหนี่ยวสังคมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข  หลักพุทธธรรมสำหรับเยาวชนเพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข คือ ศีล ๕  อิทธิบาท ๔ และมงคล ๓๘ ประการ (มงคลที่ ๑-๓๐)

รูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขตามหลักพุทธธรรมสำหรับเยาวชน: ศึกษากรณีโรงเรียนสระบุรีวิทยาคม จังหวัดสระบุรี มี ๒ รูปแบบ [] ด้านการเรียน  เยาวชนที่ประสบผลสำเร็จด้านการเรียนนอกจากเกิดจากความชอบแล้ว  ผู้ปกครองก็มีความสำคัญในการสนับสนุนช่วยเหลือเป็นแรงบันดาลใจ  มีจิตสำนึกที่ดีทั้งต่อตนเอง ครอบครัว โรงเรียน และชุมชนสิ่งแวดล้อม  รู้จักหน้าที่และมีความรับผิดชอบ  รู้จักจัดสรรเวลาโดยเรียงลำดับความสำคัญ  เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี  ปฏิบัติตนตามหลัก ๑) อิทธิบาท ๔ คือ ฉันทะ-มีความเชื่อมั่นศรัทธา วิริยะ-ทำงานด้วยความขยันอดทน       จิตตะ-มีจิตจดจ่อมุ่งมั่นในสิ่งที่ทำ วิมังสา-ทบทวนและปรับปรุงแก้ไขทำให้สิ่งที่ทำมีคุณภาพดี             ๒) มงคลที่ ๑-๓๐ เป็นหลักธรรมคำสอนเพื่อเป็นแบบแผนและแนวทางในการดำรงชีวิตอย่างถูกต้องส่งผลให้ชีวิตพบเจอแต่ความสุขความเจริญ [] ด้านปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหาในการดำเนินชีวิต ได้แก่ ปัญหาการใช้ความรุนแรง แก้ไขโดยการปฏิบัติตนตามศีลข้อ ๑ ปัญหาการลักทรัพย์ แก้ไขโดยการปฏิบัติตนตามศีลข้อ ๒ ปัญหาเพศสัมพันธ์ แก้ไขโดยการปฏิบัติตนตามศีลข้อ ๓ ปัญหาการใช้คำพูด แก้ไขโดยการปฏิบัติตนตามศีลข้อ ๔ ปัญหาการใช้สารเสพติด แก้ไขโดยการปฏิบัติตนตามศีลข้อ   รวมทั้งการปฏิบัติตนตามหลักธรรมทั้ง ๒ หลักดังกล่าวมาแล้ว

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕