หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สุทธิพร รัตนธร ศรัทธา
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๕ ครั้ง
รูปแบบการบูรณาการหลักไตรสิกขาในกิจกรรมของชมรมพุทธศาสตร์กรมสรรพากร
ชื่อผู้วิจัย : สุทธิพร รัตนธร ศรัทธา ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชปริยัติมุนี (เทียบ สิริญาโณ)
  พระมหาทวี มหาปญฺโญฺ (ละลง)
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่อง รูปแบบการบูรณาการหลักไตรสิกขาในกิจกรรมของชมรมพุทธศาสตร์ กรมสรรพากร มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) เพื่อศึกษารูปแบบการบูรณาการหลักไตรสิกขาในกิจกรรมของชมรมพุทธศาสตร์ กรมสรรพากร ๒) เพื่อประเมินผลรูปแบบการบูรณาการหลักไตรสิกขาในกิจกรรมของชมรมพุทธศาสตร์ กรมสรรพากร ๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบการบูรณาการหลักไตรสิกขาในกิจกรรมของชมรมพุทธศาสตร์ กรมสรรรพากร ผลการวิจัยพบว่า

ชมรมตั้งขึ้นจากแนวความคิดจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ และมิติทางสังคมในวิทยาโดย
คณะกรรมการชมรมกำหนดรูปแบบการบูรณาการหลักไตรสิกขาในกิจกรรมตามวัฒนธรรมประเพณีไทย
เป็นพลังขับเคลื่อนการฝึกพัฒนาศักยภาพมนุษย์อย่างบูรณาการครบ 3 ด้าน ได้แก่ อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา ซึ่งจำแนกได้ 3 ประเภท 1) หลักปฏิบัติ 2) มรรค๘ 3) ขันธ์ 3 อันตั้งต้นมาจากสัมมาทิฎฐิ
ซึ่งประกอบด้วยปรโตโฆสะกับโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคุณค่าเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์และเป็นที่รวมสิกขาบท
ในพระปาฏิโมกข์กับหลักปฏิบัติธรรมทั้งหมดจึงมีอิทธิพลต่อคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา และเปลี่ยน
วัฒนธรรมองค์กรได้ ปรากฎอยู่ในกิจกรรมของชมรม ดังนี้ 1) การถวายภัตตาหารเช้าและตักบาตร
๒) การส่งเสริมช่วยเหลือพระสงฆ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๓) การสวดมนต์และนั่งสมาธิ ๔) การจัดกิจกรรม
ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ได้แก่วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา 

สภาพทั่วไปของชมรมจากข้อมูลของกลุ่มผู้ที่ให้สัมภาษณ์ ได้แก่ คณะกรรมการ คณะทำงาน
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยกำหนดเกณฑ์ในการจำแนกแล้ววิเคราะห์ผลบนกระบวนการ SWOT Analysis พบว่า
มีความพึงพอใจในรูปแบบทั้ง 4ประเภท มีจุดแข็งที่ต้องคงไว้ คือ ๑) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และมีความเข้าใจหลักไตรสิกขามีความรู้ความเข้าใจหลักไตรสิกขาสามารถทำให้เกิดการพัฒนาชีวิตได้ครบทั้ง ๔ ด้าน คือ กาย สังคม จิตใจ ปัญญา 2) เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ๒) การจัดตั้งชมรมและการบริหารชมรมมีขั้นตอนเป็นระบบที่ดี ๓) คณะกรรมการชมรมมีความเสียสละ ๔) คณะกรรมการมีการประชุมอย่างสม่ำเสมอ ๕) คณะผู้บริหาระดับสูงของกรมสรรพากรให้ความสำคัญกับกิจกรรม ส่วนจุดอ่อนที่ต้องปรับปรุง ๑) การกระชับเวลา ๒) การทำให้วัยรุ่นร่วมกิจกรรมมากขึ้น ๓) การกระจายหน้าที่ความรับผิดชอบให้คณะทำงาน ๔) การประชาสัมพันธ์ และอุปสรรคที่ควรกำจัด ได้แก่ ความเข้าใจคลาดเคลื่อนในวัตถุประสงค์ของชมรม และความผิดพลาดในขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม ซึ่งชมรมใช้วิธีประชุมคณะกรรมการเพื่อระดมสมองแก้ปัญหาอุปสรรคดังกล่าว โอกาสในการพัฒนารูปแบบกิจกรรมควรสร้างเครือข่ายเผยแพร่ไปยังหน่วยงานภายในกรมสรรพากรและหน่วยงานภายนอกกรมสรรพากร 

การนำเสนอรูปแบบการบูรณาการหลักไตรสิกขาในกิจกรรมของชมรมพุทธศาสตร์ กรมสรรพากร เป็นองค์ความรู้ใหม่ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาวะทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านกาย ด้านพฤติกรรม ด้านจิต ด้านปัญญา และรูปแบบการบูรณาการหลักไตรสิกขาในกิจกรรมของชมรมพุทธศาสตร์กรมสรรพากรมีลักษณะเป็นองค์กรที่ยั่งยืนมีประโยชน์ และปัจจุบันยังเป็นตัวชี้วัดของกระทรวงการคลังที่ถือว่าตอบสนองกรอบพื้นฐานยุทธศาสตร์ชาติของรัฐบาล นอกจากจะใช้พัฒนาตน และองค์กร ยังสามารถทำให้สังคมเข้มแข็ง 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕