หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมนตรี ปญฺญาทีโป (คู่ควร)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๘ ครั้ง
การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างกระบวนการรับรู้กับการพัฒนาปัญญา ตามหลักพุทธจิตวิทยาสำหรับนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา)
ชื่อผู้วิจัย : พระมนตรี ปญฺญาทีโป (คู่ควร) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ประยูร สุยะใจ
  พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาหลักการและกระบวนการรับรู้กับการพัฒนาปัญญาตามหลักพุทธศาสตร์ ๒) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีและกระบวนการรับรู้กับการพัฒนาปัญญาตามหลักจิตวิทยา และ ๓) เพื่อพัฒนาโมเดลและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างกระบวนการรับรู้ กับการพัฒนาปัญญาตามหลักพุทธจิตวิทยาที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ ๕ คณะครุศาสตร์อุสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง จำนวน ๒๘๕ คน วิเคราะห์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรม SPSS และวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างแบบมีตัวแปรส่งผ่านด้วยโปรแกรม LISREL

            ผลการวิจัยปรากฏว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตพุทธจิตวิทยาต่อ การพัฒนาปัญญาและการรับรู้ด้วยกระบวนการพุทธจิตวิทยา ที่ส่งผลต่อวิธีการพัฒนาปัญญาตามสมมติฐาน มีความสอดคล้องของกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี พิจารณาได้จากผลการตรวจสอบค่าสถิติไค-สแควร์ เท่ากับ 100.15  ค่า df เท่ากับ 84 ค่า p เท่ากับ 1.00 ดัชนี GFI เท่ากับ 1.0 ดัชนี AGFI เท่ากับ 0.91 ดัชนีCFI เท่ากับ 1.0 ค่า SRMR เท่ากับ 0.03 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.03 ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการพัฒนาปัญญาตามหลักพุทธจิตวิทยา ได้ร้อยละ 79 องค์ความรู้ที่ได้จากการพัฒนาปัญญาตามหลักพุทธจิตวิทยาตามข้อมูลเชิงประจักษ์ เกิดจากการบูรณาการหลักพุทธศาสตร์และหลักจิตวิทยาคือ POLMM Model

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕