หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมานพ จิรวฑฺฒโน (รามสูต)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๘ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลของสุวรรณสามชาดกที่มีต่อประชาชนในตำบลไร่อ้อย อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
ชื่อผู้วิจัย : พระมานพ จิรวฑฺฒโน (รามสูต) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูโกศัยพัฒนบัณฑิต
  พระครูสุนทรธรรมนิทัศน์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาประวัติและความเป็นมาและสาระสำคัญของสุวรรณสามชาดก ๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏสุวรรณสามชาดก และ ๓)             เพื่อวิเคราะห์วิเคราะห์อิทธิพลของสุวรรณสามชาดกที่มีต่อประชาชนตำบลไร่อ้อย อำเภอพิชัย    จังหวัดอุตรดิตถ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research ผู้วิจัยได้ศึกษาจากหนังสือ ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เชิงลึก

    ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

                 แห่งการตรัสสุวรรณสามของพระพุทธเจ้านั้น เนื่องจากมีพระภิกษุรูปหนึ่งได้นำเอาอาหารที่ได้รับจากการบิณฑบาตไปแบ่งให้มารดาของตน ทำให้พระสงฆ์ที่พบเห็นเกิดอาการไม่พอใจจึงนำเอาเรื่องไปฟ้องพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงทรงยกสุวรรณสามชาดกเป็นชาดกขึ้นมาตรัสกับภิกษุทั้งว่าสมัยที่พระองค์เสวยพระชาติเป็นพระสุวรรณสามก็ได้กระทำแบบพระภิกษุผู้นี้ โดยสุวรรสามชาดกมีสาระสำคัญคือ พระสุวรรณสามได้อาศัยอยู่กับบิดามารดาที่ดำรงตนเป็นฤาษีอาศัยอยู่ใน         ป่าหิมพานต์ จนวันหนึ่งบิดารมารดาทั้งสองได้ตาบอดลง สุวรรณสามได้ปรนนิบัติเลี้ยงดูบิดามารดาทั้งสองที่ตาบอดด้วยดีเสมอมา จนวันหนึ่งได้ไปตักน้ำและได้ถูกพระเจ้ากปิลยักษ์ กษัตริย์เมืองพาราณสีใช้ลูกศรธนูยิง เพราะหลงเข้าใจว่าเป็นเทวดาหรือว่าเป็นนาคกันแน่ ทำให้สุวรรณสามสลบไป ภายหลังพระเจ้ากปิลยักษ์ได้สำนึกผิดในบาปของตนจึงไปบอกกับบิดามารดาของสุวรรณสามว่าตนเองได้ยิงสุวรรณสามตายริมฝั่งแม่น้ำ บิดามารดาของร้องพระเจ้ากปิลยักษ์ให้พาไปพบสุวรรณสามที่ริมฝั่งแม่น้ำ ปรากฏว่าสุวรรณสามยังไม่ตายเพียงแต่สลบไปเท่านั้น มารดาของสุวรรณสามจึงได้ตั้งสัจจะอธิษฐานขอให้สุวรรณสามฟื้น ภายหลังจากฟื้นสุวรรณสามก็กล่าวโอวาทกับพระเจ้ากปิลยักษ์จนทำให้พระองค์ตั้งอยู่ในทศพิศราชธรรม

             หลักธรรมที่ปรากฏในสุวรรณสามชาดกประกอบไปด้วย ๑) หลักกฎแห่งกรรม หรือ            หลักแห่งเหตุผล ของบุพกรรมของบิดารมารดาของสุวรรณสามที่ต้องตาบอด ๒) หลักสัจจะ คือหลักแห่งความจริงของสุวรรณสามที่ได้ตั้งสัจจะอธิษฐานที่จะดูแลบิดามารดาผู้ตาบอด และสัจจะอธิษฐานของมารดาของสุวรรณสามที่ขอให้สุวรรณสามฟื้นจากการถูกยิง ๓) หลักเมตตา หรือ หลักธรรมแห่งความรักของสุวรรณสาม คือ ความมีเมตตาต่อสรรพสัตว์ ไม่เบียดเบียนสัตว์ที่อาศัยอยู่ร่วมจนทำให้สัตว์น้อยใหญ่อยู่ร่วมกับสุวรรณสามอย่างสงบ ๔) หลักกตัญญูกตเวทีของสุวรรณสามที่ได้เลี้ยงดูบิดามารดาที่ตาบอด แม้ว่าจะถูกยิงด้วยธนูก็ยังเป็นห่วงบิดามารดา เพราะกลัวว่าจะไม่มีผู้ใดดูแล และ                 ๕) หลักทศพิธราชธรรมของพระเจ้ากปิลยักษ์ ภายหลังจากที่ได้ฟังโอวาทจากสุวรรณสามก็ปกครองบ้านเมืองด้วยทศพิศราชธรรม

             อิทธิพลของสุวรรณสามชาดกที่มีต่อประชาชนในตำบลไร่อ้อย อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์นั้นมีอยู่ ๔ ด้านคือ ๑) ด้านความเชื่อ ประชาชนในตำบลไร่อ้อยเชื่อในหลักธรรมที่ปรากฏในสุวรรณสามชาดกเพราะเป็นหลักธรรมที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน                  ๒) ด้านครอบครัว หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเช่นหลักกฎแห่งกรรม หลักสัจจะ หลักเมตตา หลักกตัญญู และหลักทศพิธราชธรรมทำให้สมาชิกในครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแก่กันและกัน มีความรักความและช่วยเหลือกัน ๓) ด้านสังคม หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในสุวรณสามชาดกนั้นทำให้ชุมชนไร่อ้อยมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความสามัคคีกัน และทำให้สังคมปราศจากเหตุอาชญากรรมต่างๆ และ ๔) ด้านสติปัญญา ประชาชนในตำบลไร่อ้อยมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎแห่งกรรมและเข้าใจชีวิตมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งรู้จักคุณค่าของชีวิตและดำเนินชีวิตตามคำสอนทางพระพุทธศาสนาเพื่อความสงบสุขของสังคมต่อไป

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕