หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อรเนตร บุนนาค
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๐ ครั้ง
ภูมิปัญญาไทยเชิงพุทธที่ปรากฏในพระราชพิธีพระบรมศพของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙
ชื่อผู้วิจัย : อรเนตร บุนนาค ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวรเมธี
  พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “พุทธภูมิปัญญาไทยเชิงพุทธที่ปรากฏในพระราชพิธีพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙” เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ๓ ข้อ ดังนี้  ๑. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและศิลปวัฒนธรรมในพระราชพิธีพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ ๒. เพื่อศึกษาคติความเชื่อพราหมณ์-พุทธที่ปรากฏในงานศพพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ ๓. เพื่อศึกษาภูมิปัญญาไทยเชิงพุทธที่ปรากฏในพระราชพิธีพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ 

                                                  

ผลการวิจัยพบว่าภูมิปัญญาไทยเชิงพุทธที่ปรากฏในพระราชพิธีพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ พระเมรุมาศออกแบบโดยยึดถือคติตามโบราณราชประเพณีรูปแบบเฉพาะสำหรับพระมหากษัตริย์ มีรูปแบบเป็นพระเมรุมาศทรงบุษบก ประกอบด้วยชั้นเชิงกลอน ๗ ชั้น ภายในตั้งพระจิตกาธานสำหรับประดิษฐานพระโกศจันทน์ ผังพื้นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน ยกพื้นสูงเป็นฐาน ๓ ชั้น ชั้นบนสุดมีมุมทั้งสี่มีซ่าง (ส้าง/สร้าง หรือสำช่าง) ทรงบุษบกยอดมณฑปชั้นเชิงกลอน ๕ ชั้น เป็นที่สำหรับพระพิธีธรรม ๔ สำรับ สวดพระอภิธรรมสลับกันไป ตั้งแต่เมื่อพระบรมศพประดิษฐานบนพระจิตกาธานจนกระทั่งถวายพระเพลิงแล้วเสร็จ ที่มุมฐานชั้นที่ ๒ ประกอบด้วยซุ้มทรงบุษบกรูปแบบเดียวกัน รวมได้ ๙ ยอด

ทำให้ทราบว่าคติความเชื่อเรื่องพระมหากษัตริย์ในสถานะเหมือนสมมติเทพ ในระบอบเทวนิยม รวมถึงแนวคิดคติจักรวาลวิทยา หรือคติไตรภูมิตามคัมภีร์พุทธศาสนา ซึ่งบอกลักษณะสัณฐานของจักรวาล การมีอยู่ของนรก โลก สวรรค์ ว่าด้วยรูปแบบของจักรวาลนั้นมีฐานกลม โดยมีแกนกลางคือ เขาพระสุเมรุ ซึ่งล้อมไปด้วยเขาสัตบริภัณฑ์ มหานทีสีทันดร และทวีปทั้ง ๔ ซึ่งเป็นที่อยู่ของมนุษย์ สวรรค์ ณ เขาพระสุเมรุที่ประทับเดิมอันเป็นศูนย์กลางของจักรวาล จึงเกิดเป็นโบราณราชพระเพณีในการเฉลิมพระเกียรติแก่พระบรมศพอย่างองค์อวตาร จัดสร้างสถานที่ถวายพระเพลิงอย่างสวรรค์ ตกแต่งเป็นสีทองเรียก พระเมรุมาศอันหมายถึงเขาพระสุเมรุ ซึ่งช่างได้จำลองสัญลักษณ์ของจักรวาลทั้งในงานผัง งานสถาปัตยกรรม และองค์ประกอบทั้งหมดในมณฑลพิธี ตามคติในศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนา คือภูเขาที่เป็นหลักของโลก ตั้งอยู่จุดศูนย์กลางของโลก หรือจักรวาล เป็นที่อยู่ของสิ่งวิญญาณ ในภพและภูมิต่างๆ นับแต่สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน ไปถึง มนุษย์นาค ครุฑ ยักษ์มาร คนธรรพ์ ฤๅษี และเทวดา โดย มีปลาอานนท์หนุนอยู่ รอบเขาพระสุเมรุ

ผลวิเคราะห์พบว่าภูมิปัญญาไทยเชิงพุทธที่ปรากฏในพระราชพิธีพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ คือ พระเมรุมาศเป็นสัญลักษณ์ของ ไม่ประมาทมีสติในการใช้ชีวิต ภพภูมิแห่งความดีงามในทางพระพุทธศาสนา ตามคติไตรภูมิ หรือ ภูมิจักรวาล มี นรก มนุษย์ สวรรค์ หรือ พ้นไป คือ นิพพาน เป็นต้น เป็นการแสดงภพภูมิให้มนุษย์เร่งกระทำกรรมดี หรือปฏิบัติวิปัสสนาเพื่อให้เกิดปัญญาในการพ้นไปจากภูมิทั้งสาม ไม่เวียนว่ายตายเกิดอีก นั้น คือ นิพพานการมั่นเจริญภาวนาเพื่อความพ้นไปจากวัฏฏะสงสารไม่กลับมาเกิดอีก คือ นิพพาน ตามหลักการของพระพุทธศาสนา คติไตรภูมิพระร่วงที่มีพระเมรุมาศเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงภพภูมินั้นเอง การกระทำส่งผลต่อภพภูมิหน้าของมนุษย์หลังจากสิ้นชีวิตลง การกระทำจะส่งผลต่อไปภพภูมิหน้า การกระทำกรรมดี และการปฏิบัติธรรมสามารถนำพาไปสู่ภพภูมิที่ดี เช่น สวรรค์ชั้นต่างๆ ตามกรรมนั้นๆ กรรมดีจะพาไปในภพภูมิที่ดีหรือสูงยิ่งๆขึ้นจนหลุดพ้น คือ นิพพาน หรือการมีสติในการใช้ชีวิต เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์อันประกอบด้วยปัญญา เป็นการไม่ประมาทเป็นหนทางแห่งความไม่ตาย คือ การเห็นถึงความไม่เที่ยงของสังขารมีทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เร่งกระทำแต่กรรมดี

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕