หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาอุทัย พลเทโว (พลเทพ)
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๕ ครั้ง
บูรณาการพุทธธรรมและศาสตร์พระราชาเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพ การบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาอุทัย พลเทโว (พลเทพ) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ประพันธ์ ศุภษร
  ตวงเพชร สมศรี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

 การวิจัย มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ () เพื่อศึกษาสภาพปัญหาศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงราชกรณราชวิทยาลัย (๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมและศาสตร์พระราชา เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (๓) เพื่อเสนอองค์ความรู้การบูรณาการพุทธธรรมและศาสตร์พระราชาเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาทั้งเอกสาร และสัมภาษณ์ ผู้บริหาร บุคลากร เจ้าหน้าที่ ปฏิบัติงานในศูนย์ปฏิบัติธรรมทั้ง ๒ แห่ง ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และบุคคลภายนอก จำนวน ๒๕ รูป/คน

ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาศูนย์ปฏิบัติธรรม มี ๔ ด้าน คือ (๑) บุคลากรขาดความมั่นคงและอัตรากำลังบุคลากรไม่เพียงพอกับภาระงาน  (๒) นโยบายและแผนกลยุทธ์ในการบริหารงบประมาณ ไม่ชัดเจน และขาดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ (๓) การจัดการด้านวัสดุ อุปกรณ์ไม่เพียงพอกับปริมาณการใช้งาน และการจัดเก็บยังไม่เป็นระบบ ระเบียบ ขาดมาตรฐาน    (๔) ขาดนโยบายและแผนพัฒนาระดับมหาวิทยาลัยในการบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาวิทยาลัยที่เป็นระบบ

๒) หลักพุทธธรรมและศาสตร์พระราชาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๓ ห่วง ๒ เงื่อน  สำหรับเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วย (๑) หลักธรรมสำหรับส่งเสริมการบริหารจัดการด้านบุคคลให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่ไตรสิกขา คือ ศีล  สมาธิ ปัญญา  และสัปปายะ ๓ คือ บุคคลสัปปายะ อาวาสสัปปายะ ภัสสสัปปายะ  (๒) หลักธรรมสำหรับส่งเสริมการบริหารจัดการด้านงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่ หลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิก (๓) หลักธรรมสำหรับส่งเสริมการบริหารจัดการด้านการบริหารวัสดุอุปกรณ์ สถานที่ ให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่ หลักกุลจิรัฏฐิติธรรม หลักในการดำรงความมั่งคั่งยั่งยืนขององค์กร   (๔) หลักธรรมสำหรับส่งเสริมด้านการบริหารให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่ หลักสัปปุริสธรรม ๗ 

๓) องค์ความรู้การบูรณาการพุทธธรรมและศาสตร์พระราชาเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ด้วยกระบวนการ “PDCA” ของ ดร.เดมมิ่ง ด้วยการสังเคราะห์ใน ๔ ด้าน ดังนี้ (๑) ด้านบุคลากร Plan = มีแผนนโยบายที่จะบรรจุเป็นบุคลากรประจำและอัตราจ้างโดยกำหนดคุณสมบัติให้ชัดเจน Do = กิจกรรมที่ทำ  มีการพัฒนาบุคลากร โดยให้โอกาสบุคลากรได้รับการยกระดับความรู้ทักษะใหม่ ๆ อย่างทั่วถึง Check = การตรวจสอบความเหมาะสมถูกต้อง/ประเมินผล  การธำรงรักษาบุคลากร ควรสร้างบรรยากาศในสถานที่ทำงานให้มีความเป็นกันเองคือบุคคลสัปปายะ  Act = การนำผลมาปรับปรุง/แก้ไข แนวร่วมจากชุมชน มีนโยทบายจิตอาสาประจำศูนย์ (๒) ด้านงบประมาณ Plan = การวางแผนการใช้งบประมาณให้มีความพอดี  สมเหตุผล ให้เหมาะสมกับการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ Do = การนำ งบไปดำเนินการ ลงมือทำ การปฏิบัติงานตามแผนงาน Check = ตรวจสอบ การตรวจสอบการใช้งบประมาณให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้งบประมาณ Act = การติดตาม ปรับปรุง แก้ไข การวางแผนให้มีความเหมาะสมในครั้งต่อไป (๓) ด้านวัสดุ อุปกรณ์ สถานที่  Plan = การวางแผนการใช้วัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ รู้จักสรรหาวัสดุอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อใช้งานในองค์กรให้มีความพอเพียงพอประมาณกับจำนวนบุคลากร Do = การนำวัสดุ อุปกรณ์ ไปดำเนินการ ลงมือทำ และการใช้สถานที่ มีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายขณะที่ใช้เครื่องมือเครื่องใช้ Check = ตรวจสอบ  การตรวจสอบการใช้วัสดุ อุปกรณ์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้งบประมาณ และการใช้สถานที่ให้มีประสิทธิภาพ Act = การติดตาม ปรับปรุง แก้ไข การมี ระบบระเบียบ ที่ได้มาตรฐานในการดูแลรักษา ควบคุม  จะทำให้วัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ อยู่ในสภาพที่ และพร้อมใช้ (๔) ด้านการบริหารจัดการ Plan = การวางแผนการ รู้หลักการ หลักเกณฑ์ ที่จะทำให้เกิดผล ในการบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติธรรมของมหาวิทยาลัย ในการทำแผนปฏิบัติการให้ครอบคลุมในแนวทางของการพัฒนาด้านวิปัสสนากรรมฐาน และอื่น ๆ Do = การนำแผนงานไปลงมือมือปฏิบัติ  เพื่อให้บรรลุตามความมุ่งหมาย มีความเข้าใจประสงค์ Check = ตรวจสอบ มีระยะเวลาประเมินผลการปฏิบัติงานในเวลาที่เหมาะสม Act = การติดตาม ปรับปรุง แก้ไข มีกระบวนการในการพัฒนาปรับปรุงแผนงาน ให้มีความเหมาะสม และรู้วิธีการที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕