หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาพรประกิจ กิตฺติมโน (ฤทธิ์สกุล)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๑ ครั้ง
การบริหารจัดการงานประพฤติวุฏฐานวิธีของวัดในจังหวัดเพชรบูรณ์ (สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาพรประกิจ กิตฺติมโน (ฤทธิ์สกุล) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีวีรบัณฑิต
  ประเสริฐ ธิลาว
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑.เพื่อศึกษาการบริหารจัดการงานประพฤติวุฏฐานวิธีของวัดในจังหวัดเพชรบูรณ์ ๒.เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นการบริหารจัดการงานประพฤติวุฏฐานวิธีของวัดในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  ๓.เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการงานประพฤติวุฏฐานวิธีของวัดในจังหวัดเพชรบูรณ์

             ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการสำรวจด้วยแบบสอบถามซึ่งมีความความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๗๕๙ กับกลุ่มตัวอย่างได้แก่ พระสงฆ์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน ๒๖๘ รูป ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๙ รูป/คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

             ๑. พระสงฆ์มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการงานประพฤติวุฏฐานวิธีของวัดในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๙๗, S.D. = ๐.๓๔)  และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ดังนี้ ด้านการบริหารจัดการ ( = ๔.๐๐, S.D. = ๐.๕๐๘) ด้านวิทยากร ( = ๓.๙๘, S.D. = ๐.๕๘๑) ด้านสถานที่  ( = ๓.๙๔, S.D. = ๐.๕๘๖)  และ ตามลำดับ

             ๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อการบริหารจัดการงานประพฤติวุฏฐานวิธีของวัดในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล คือ อายุ พรรษา วุฒิการศึกษานักธรรม วุฒิการศึกษาเปรียญธรรม วุฒิการศึกษาสามัญ พบว่า พระสงฆ์ที่มี อายุ พรรษา วุฒิการศึกษานักธรรม วุฒิการศึกษาเปรียญธรรม มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการงานประพฤติวุฏฐานวิธีของวัดในจังหวัดเพชรบูรณ์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนพระสงฆ์ที่มีวุฒิการศึกษาสามัญต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมุติฐานการวิจัย

             ๓. ปัญหา อุปสรรค การบริหารจัดการงานประพฤติวุฏฐานวิธีของวัดในจังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า ๑) เจาสำนักขาดวิสัยทัศนในการปรับปรุงสถานที่ภายในวัด ๒) เจ้าสำนักมีอาคารไมสามารถรองรับจนวน ผูมาร่วมประพฤติวุฒฐานวิธี จนวมมาก ๆ ได ๓) ขาดกระบวนการคัดสรรกลั่นกรองรผู้เขามาบวชเป็นพระภิกษุอย่างเป็นขั้นตอน ข้อเสนอแนะควรนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ เช่น หลักอิทธิบาท ๔ เพราะเป็นคุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย คือ ฉันทะ  วิริยะ จิตตะ วิมังสา ๑) เจ้าสนัก ควรมีการปรับปรุงภูมิทัศนของสถานที่สนัก ใหเหมาะสมกับภูมิประเทศ และมีกฎระเบียบในการเขาพักสหรับผู้เข้าประพฤติวุฒฐานวิธี ๒) เจ้าสำนักควรจัดคนทําความสะอาดเป็นประจำไม่รก อากาศถายเทดี ปองกันปลวก แมลงตาง ๆ มีรองเทาสำหรับเข้าหองน้ำ ไม่มีกลิ่นรบกวน ผนังหองน้ำ โถสวม อางลางมือ มีความสะอาดพรอมใชงานได้  ๒) เจาสำนักควรพัฒนาบุคลิกภาพใหมีความเปนผูนำที่นั่งอยูในใจของผูอื่น รูจักแบงงานรูจักใชคนใหเหมาะสมกับงานและความรู รูจักบริหารศรัทธาของประชาชน

Download 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕