หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาเสรีชน นริสฺสโร (พันธ์ประโคน)
 
เข้าชม : ๑๖๗๗๒ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์อปัสเสนธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท(๒๕๕๐)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาเสรีชน นริสฺสโร (พันธ์ประโคน) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร
  นายสนิท ศรีสำแดง
  นาย รังษี สุทนต์
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๙ เมษายน ๒๕๕๐
 
บทคัดย่อ

              วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับอปัสเสนธรรมคือธรรมที่เป็นจุด
พนักพิงตามที่ปรากฎในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการวิจัย
เอกสารวัตถุประสงค์หลักของการศึกษามีดังต่อไปนี้ คือ
๑. เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักคำสอนเรื่องปัสเสนธรรมที่ปรากฎในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท
๒. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของอปัสเสนธรรมกับองค์ธรรมที่เกี่ยวข้อง และ
๓. เพื่อศึกษาวิเคราะห์อปัสเสนธรรมในฐานะเป็นกระบวนการพัฒนาชีวิตให้เกิดความสุข   

ผลการวิจัยพบว่า พระพุทธเจ้าทรงนำศัพท์ที่เป็นชื่อวัตถุสำหรับพักพิงมาเป็นลักษณะแห่งธรรมที่ชื่อว่าอปัสเสนธรรม ซึ่งมีองค์ประกอบ ๔ ประการ คือ
     ๑. การพิจารณาแล้วเสพ
     ๒. การพิจารณาแล้วอดกลั้น
     ๓. การพิจารณาแล้วเว้น
     ๔. การพิจารณาแล้วบรรเทา
     อปัสเสนธรรมดังกล่าวมาข้างต้นนี้มีความสำคัญมากสำหรับการดำเนินชีวิตเพราะ
อำนวยให้เกิดประโยชน์สุขในชีวิตประจำวัน เป็นกระบวนการธรรมที่ให้ปฎิบัติได้อย่างถูกต้องตามหลักไตรสิกขา ตลอดจนให้บรรลุถึงเป้าหมายอันสูงสุดในทางพระพุทธศาสนาได้ อปัสเสนธรรมแม้จะเป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนเน้นแก่บรรพชิตก็ตาม แต่ในส่วนของคฤหัสถ์ก็สามารถที่จะ
ประยุกต์หลักธรรมนี้ไปใช้ได้โดยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตให้ถูกต้อง ทำ
ให้ชีวิตเข้าถึงความสุขได้เช่นกัน

     หลักธรรมในพระพุทธศาสนานั้นเป็นปัจจัยสนับสนุนกันและกันแล้วเกิดขึ้นได้ ซึ่ง
ในทางตรงกันข้ามธรรมที่เป็นปฎิปักษ์ก็เกิดขึ้นมาเพื่อปิดกั้นคุณธรรมอีกฝ่ายหนึ่งได้ด้วยเช่นกัน
ดังนั้น องค์ธรรมที่สนับสนุนมีความสำคัญอย่างมากคือผลักดันให้อปัสเสนธรรมเกิดขึ้นได้โดยง่าย
และอปัสเสนธรรมจะสำเร็จผลได้อย่างไพบูลย์หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของการนำไป
ประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมกับเหตุการณ์ เวลา และสถานที่

 

Download :  255034.pdf
    
 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕