หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาว วราภรณ์ ชัยโอภาส
 
เข้าชม : ๑๖๕๙๑ ครั้ง
การนำหลักธรรมในสิงคาลกสูตรมาใช้ให้คำปรึกษาจริยธรรมแก่พ่อแม่(๒๕๕๐)
ชื่อผู้วิจัย : นางสาว วราภรณ์ ชัยโอภาส ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  รศ.ดร. เพ็ญแข ประจนปัจจนึก
  พลตรีดร. วีระ วงศ์สรรค์
  พระมหาบุญเลิศ ธมฺมทสฺสี
วันสำเร็จการศึกษา : ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐
 
บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประยุกต์หลักธรรมในสิงคาลกสูตรให้คำ ปรึกษาจริยธรรมแก่พ่อแม่ ในการวิจัยแบบทดลอง เนื้อหาจริยธรรม จัดเป็น ๔ ประภท คือ ลดกรรมกิเลส๔ ลดอคติ และการคบมิตร อบายมุข ๖ และการปิดทิศ ๖ ด้วยหลักสังคหธรรม และได้วัด ความรู้ความเข้าใจหลักธรรม เป็นแบบทดสอบ ๔ ตัวเลือก และแบบสังเกตปฏิสัมพันธ์ ทางสังคมซึ่งแบ่งเป็น ๓ ตอน คือ คารวะธรรม ปัญญาธรรม และสามัคคีธรรม เป็นแบบคำคุณศัพท์คำคู่ตรงข้ามกัน มาตรา ๕ ช่อง แบบทดสอบทั้ง ๒ ชุดนี้มีความเที่ยงตรงนำมาใช้ในการวิจัย การสุ่มตัวอย่างพ่อแม่ให้ความร่วมมีอสมัครใจ จำนวน ๑๑๘ คน เป็นผู้ปกครองนักเรียน ๑๑๘ คน ซึ่งมีอายุระหว่าง ๘-๑๒ ปี การอบรมนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง เพื่อศึกษาขบวนการสร้าง สัมมาทิฏฐิของพ่อแม่และลูก และเพื่อศึกษาประสิทธิภาพ การให้คำปรึกษาจริยธรรมแก่พ่อแม่ และลูก นักเรียนได้ทำความเข้าใจ กับเนื้อหาที่ฝึกอบรม แล้วนำแบบสอบถามไปให้พ่อแม่ ๑๑๘ คน เก็บแบบสอบถามซึ่งพ่อแม่สมัครใจตอบกลับคืน มาวิเคราะห์ต่อไป
ผลงานวิจัยพบว่า พ่อแม่ และลูก มีระดับคุณธรรมจริยธรรมดีขึ้น ดังนี้ ๑) ด้านการประยุกต์หลักธรรมในสิงคาลกสูตร พ่อ แม่ และลูกมีความรู้ความเข้าใจหลักธรรมแตกต่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๒) พ่อแม่ และลูกมีระดับจริยธรรมสัมพันธ์กันในทางบวก ๓)นักเรียนและพ่อแม่ที่มีคุณธรรมจริยธรรม ระดับ ๒ หรือระดับ ๑ ได้พัฒนาระดับคุณธรรมจริยธรรมหลังให้คำปรึกษารายบุคคล ระดับคุณธรรมแตกต่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .๐๕ ๔) ความสัมพันธ์ระหว่างระดับจริยธรรม และพฤติกรรมจริยธรรมทางคารวะธรรม ปัญญาธรรมและสามัคคีธรรม มี ปฏิสัมพันธ์ในทางบวก ๕) ความแตกต่างระหว่าง เพศ และวัย มีพฤติกรรมจริยธรรมแตกต่างกัน เด็กหญิงระดับพฤติกรรมจริยธรรมแตกต่างจากเด็กชาย และระดับจริยธรรมของเด็กวัย ๑๐-๑๒ ปีแตกต่างจากวัย ๘-๙ ปีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .๐๕ และพบว่าการประยุกต์หลักธรรมบรรลุวัตถุประสงค์และสมมุติฐานที่วางไว้ ประสิทธิภาพของการให้คำปรึกษาจริยธรรมพ่อแม่ลูกดีขึ้น ระดับจริยธรรม และพฤติกรรมจริยธรรม ของนักเรียนสัมพันธ์ กันมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .๐๕ แต่ไม่สัมพันธ์กับระดับจริยธรรมพ่อแม่ส่วนกระบวนการสร้างสัมมาทิฏฐิของเยาวชน ช่วยให้นักเรียนมีเจตคติในทางบวก และ มีสมาธิทำงาน ให้สำเร็จ มีวินัยในตน มีความเข้าใจหลักธรรมในสิงคาลกสูตรโดย ผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานร้อยละ ๙๐
Download :  255039.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕