หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสุรศักดิ์ ขนฺติธมฺโม (กุนากุล)
 
เข้าชม : ๑๖๕๘๘ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์แนวทางการละตัณหาในพระไตรปิฎก (สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสุรศักดิ์ ขนฺติธมฺโม (กุนากุล) ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๐๔/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหายุทธนา นรเชฏฺโฐ
  สมิทธิพล เนตรนิมิตร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๙ เมษายน ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ เพื่อศึกษาตัณหาในพระไตรปิฎก เพื่อศึกษาหลักการละตัณหาในพระไตรปิฎก และเพื่อศึกษาแนวทางการละตัณหาในพระไตรปิฎก โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ปกรณวิเสส หนังสือ เอกสาร ตำรา และรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องนำมาเรียบเรียง บรรยายเชิงพรรณนาพร้อมทั้งตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญจากการศึกษาพบว่า

ตัณหา คือ ความอยาก ความทะยานอยาก เพลิดเพลินในอารมณ์มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เข้ามาสัมผัสด้วยกายและใจเป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยหลายอย่างทำให้เกิดขึ้น ตัณหาเป็นธรรมที่ประกอบกับจิตทำให้มีความทะยานอยาก จนถึงดิ้นรนแสวงหาอารมณ์มาครอบครองเพื่อให้สมความปรารถนาโดยแบ่งเป็น ๓ ประเภทคือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา  

      การละตัณหาคือ การละขาด การกำจัด การสละ โดยละเหตุคือ สละเสียซึ่งความอยากโดยมีแนวทางการละระดับเริ่มต้นด้วยโลกียะมีทานเป็นต้น และระดับโลกุตตระมีสติปัฏฐานเป็นที่สุดโดยอาศัยแนวทางพุทธธรรมที่ละไปตามขั้นตอนเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง รู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาวธรรมว่าตัณหาก็มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดา

วิเคราะห์แนวทางการละตัณหาในพระไตรปิฎก พบว่า การละตัณหาในอริยสัจและปฏิจจสมุปบาทเป็นกระแสวงจรที่ติดต่อกันเป็นระยะเปรียบเสมือนยางเหนียว ที่ทำให้บุคคลวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏฏ์ ซึ่งการออกจากวงจรนี้ต้องปฏิบัติตามแนวทางอริยมรรคมีองค์ ๘ และตามแนวสติปัฏฐาน ๔ เพื่อให้รู้ชีวิตตามเป็นจริงด้วยสติปัญญาและเพื่อตัดกระแสตัณหามิให้เกิดขึ้นต่อไป

 

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕