หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ณัฐพร พึ่งธรรม
 
เข้าชม : ๑๖๘๗๑ ครั้ง
การพัฒนานิสัยรักการอ่านตามหลักอิทธิบาท ๔ โดยใช้กิจกรรมแนะแนวของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านท่าหลุกสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ (สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว)
ชื่อผู้วิจัย : ณัฐพร พึ่งธรรม ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๐๔/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ชาติชาย พิทักษ์ธนาคม
  ลลิตา ฤกษ์สำราญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาระดับนิสัยรักการอ่านตามหลักอิทธิบาท ๔ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านท่าหลุกสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ๒) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนานิสัยรัก การอ่านตามหลักอิทธิบาท ๔ โดยใช้กิจกรรมแนะแนวของนักเรียน ก่อนและหลังการใช้กิจกรรม การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านท่าหลุกสันทราย จำนวน ๓๐ คน ใช้วิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม วัดผลก่อนและหลังการดำเนินการจัดกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที  (t-test) ค่าเอฟ (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis
of Variance)

  ผลการวิจัยพบว่า :

  ๑. ระดับนิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านท่าหลุก
สันทราย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม โดยภาพรวมนิสัยรักการอ่าน อยู่ในระดับปานกลาง หลังเข้าร่วมกิจกรรม โดยภาพรวมมีนิสัยรักการอ่านอยู่ในระดับมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

  ๒. ผลการเปรียบเทียบการพัฒนานิสัยรักการอ่านตามหลักอิทธิบาท ๔ โดยใช้กิจกรรม แนะแนว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านท่าหลุกสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ที่มีเพศ สถานภาพผู้ปกครอง  อาชีพผู้ปกครอง แตกต่างกัน มีการพัฒนานิสัยรัก การอ่าน โดยใช้หลักอิทธิบาท ๔ ทุกด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงเป็นไป ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕