หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สุชน ประวัติดี
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๙ ครั้ง
รูปแบบการพัฒนาความสันโดษในกระบวนการเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงจิตสังคมของเยาวชนไทย (สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา)
ชื่อผู้วิจัย : สุชน ประวัติดี ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๐๕/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร์ อภิฉนฺโท
  ประยูร สุยะใจ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

            การวิจัยมีวัตถุประสงค์ไว้ ๓ ประการได้แก่ ๑) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องรูปแบบการพัฒนาความสันโดษในกระบวนการเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงจิตสังคมของเยาวชนไทย      ๒) เพื่อบูรณาการแนวคิดเชิงทฤษฎีหลักการพัฒนาความสันโดษ ในกระบวนการเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงจิตสังคมของเยาวชนไทย และ ๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาความสันโดษในกระบวนการเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงจิตสังคมของเยาวชนไทย ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบประสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิจัยเชิงสำรวจแจกแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น ๓๖๔ คนโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน ๒๕ คน มีเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาแบบ TAC

              ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับ รูปแบบการพัฒนาความสันโดษในกระบวนการเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงจิตสังคมของเยาวชนไทย ด้านรูปแบบการพัฒนาความสันโดษในกระบวนการเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงจิตสังคมของเยาวชนไทย โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๖๙ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าการรักษาทรัพย์สินที่ตนหาได้มา โดยการใช้จ่ายอย่างประหยัดมัธยัสถ์อดออม อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๘๔   หลักสันโดษที่เป็นเครื่องส่งเสริมให้เกิดความขยันหมั่นเพียร อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๘๔   มีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยในฐานะความเป็นอยู่ของตนเอง  อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๗๗  มีค่านิยมใช้จ่ายซื้อสิ่งของเครื่องใช้ตามความเหมาะสมกับฐานะรายได้หรือความเป็นอยู่ อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๗๓ บริโภคปัจจัย ๔ ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัยเครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค เพียงพอแก่ความต้องการอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๗๓  การเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหารถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๗๒  ดำรงชีวิตและเป็นอยู่อย่างรู้จักพอ เพียงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๖๓   ใช้วัตถุอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอย เช่นโทรศัพท์มือถือคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ตามความจำเป็นและใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๕๓ ใช้จ่ายเพื่อสนองความต้องการของตนเองโดยคำนึงถึงฐานะรายได้หรือความเป็นอยู่ อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๔๕  มีความยินดีหรือความพอใจตามสมควรแก่ฐานะความเป็นอยู่ของตน อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๒๖ ตามลำดับ
                ผลการวิจัยพบว่าจากการจำแนกปัญหาการพัฒนาความสันโดษในกระบวนการเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงจิตสังคมของเยาวชนไทย ในโรงเรียนของ สพม. เขต ๙  ทั้ง ๓๖ ประเด็นปัญหา ซึ่งทำให้ผู้วิจัยเห็นว่ากระบวนการพัฒนาเยาวชนแม้ว่าจะเป็นปัญหาระดับชาติ ที่ทุกฝ่ายจะต้องให้ความ สำคัญในฐานะผู้สร้างคนรุ่นใหม่ให้มีพฤติกรรมเชิงจิตสังคมที่ดีมีคุณภาพ เพื่อจะไปพัฒนาประเทศชาติ แต่ด้วยสภาพความเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่าง ที่ทำให้เกิดความสับสนทางด้านการบริหารจัดการเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่านิยมดั่งเดิม ทำให้เกิดความบกพร่องของเนื้อหาการพัฒนาเยาวชนเกี่ยวกับความสันโดษไปอย่างน่าเสียดาย จึงทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมเชิงจิตสังคมที่ไม่พึงประสงค์  อย่างไรก็ตามปัจจัยทางสังคมชุมชนที่สนับสนุนส่งเสริมและขัดแย้งอย่างเช่น ครอบครัวของเยาวชน การได้ตัวแบบที่ดีหรือไม่ดี การแข่งขันภายในโรงเรียน กิจกรรมส่งเสริมไม่เหมาะสม กฎระเบียบ ความขัดแย้ง ความกดดันของกลุ่ม การได้พบประสบการณ์ที่ไม่ดีในชุมชนสังคม สื่อสารมวลชน หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางสังคมชุมชน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับรูปแบบการพัฒนาความสันโดษของเยาวชนแทบทั้งสิ้น
 
         การวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหารูปแบบการพัฒนาความสันโดษ ในกระบวนการเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงจิตสังคมของเยาวชนไทย ซึ่งมีปัจจัยที่เป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่อกระบวนการรู้คิด และการตระหนักรู้ด้วยความเข้าใจถึงปัญหาหลายด้าน ดังนั้น จึงประมวลสรุปปัจจัยที่เป็นปัญหาต่อรูปแบบการพัฒนาความสันโดษในเยาวชนทั้ง ๕ ด้าน ได้แก่ ๑. ด้านครอบครัว ๒. ด้านศาสนา ๓. ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม ๔. ด้านโรงเรียน  ๕. ด้านสื่อสารมวลชน

Download


 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕