หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหานิพันธ์ ปริปุณฺโณ (เชียงกา)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๙ ครั้ง
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะของชุมชน ตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสนจังหวัดนครปฐม (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหานิพันธ์ ปริปุณฺโณ (เชียงกา) ข้อมูลวันที่ : ๐๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  วสันต์ ลิ่มรัตนภัทรกุล
  พระสุธีรัตนบัณฑิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑. เพื่อศึกษาการจัดการขยะของชุมชนตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ๒. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะของชุมชนตำบลทุ่งลูกนก  อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม ๓. เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลทุ่งลูกนก  อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐมเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน ๑๓,๑๓๖ คน ซึ่งหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง ของ Taro Yamane ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๔๐๐ คน และมีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก(Key Informants) ได้แก่ เจ้าอาวาสวัด ปลัด อบต. ส.อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน  แกนนำชุมชน สาธารณสุขตำบล ผู้อำนวยการโรงเรียน ประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการขยะมูลฝอย ของชุมชนจำนวน ๑๒ รูป/คน การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมวิเคราะห์สถิติทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าสถิติต่างๆ ในส่วนข้อมูลจากแบบสอบถามปลายเปิด และข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้วิธีจัดกลุ่มข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

ผลการวิจัยพบว่า

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะ ของชุมชนตำบลทุ่งลูกนกอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐมจากผลการวิจัยครึ่งนี้จึงแสดงให้เห็นว่า ประชาชนในชุมชนทุ่งลูกนกได้เข้ามามีส่วนรวมในการพัฒนาชุมชนในการจัดการขยะ โดยภาพรวมในด้านต่างๆ เป็นอย่างดีมาก เริ่มตั้งแต่ร่วมค้นหาปัญหา วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา และแนวทางต่างๆ ที่อาจนำมาใช้ในการแก้ไข้ปัญหาของการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะมากขึ้น ซึ่งกิจกรรมต่างๆ เกิดจากการรวมกลุ่มความต้องการที่มาจากพื้นฐานความต้องการของคนในชุมชน ด้วยมีการแลกเปลี่ยน รับรู้รับทราบ ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ โดยมีการประชุมในระดับหมู่บ้าน ชุมชน เป็นประจำ เพราะข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับจากประชาชน จะสะท่อนให้เห็นความต้องการและการให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มต้น จึงทำให้ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนต่อคนในชุมชนเป็นอย่างมาก เมื่อกิจกรรมเกิดจากความต้องการของคนในชุมชนที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมจึงทำให้การตอบสนองของการเข้ามามีส่วนร่วมในการกำจัดขยะเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากผลการศึกษาวิจัย จึงทำให้ทราบว่า คนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมที่จะเข้าร่วมกิจกรรมทางหน่วยงานจัด และมีผู้นำชุมชน หรือคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้าน ต่างให้ความร่วมมือให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในทุกๆ ด้าน เริ่มตั้งแต่ให้คนในชุมชนได้เข้ามามีบทบาทส่วนร่วมในการให้ข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา เสนอปัญหา ความต้องการ และคัดเลือกแนวทางแก้ไขที่เหมาะสม โดยที่มีหน่วยงาน หรือ ผู้นำชุมชน มีบทบาทเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุนความต้องการในการจัดกิจกรรม เพื่อให้เกิดผลดีตามมา หรือจะทำเป็นแหล่งเรียนรู้ในเรื่องการกำจัดขยะภายในชุมชนเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านและประชาชนทั่วไปที่สนใจอยากได้ความรู้เอากลับไปต่อยอดไปใช้ในพื้นที่ของตนเอง และเพื่อเป็นแบบอย่างในการเริ่มพัฒนาการใช้ระบบการจัดการแบบ ๓ R Reduce, Reuse, Recycle สามารถตอบโจทย์ในการจัดการขยะเพราะสามารถลดปริมาณแล้วยังสร้างรายได้ สร้างประโยชน์ เป็นการพัฒนาที่ไม่ที่สิ้นสุดต่อไป

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕