หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูวิบูลเจติยาภิรม (ทวี มีสุข)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๕ ครั้ง
กระบวนการเตรียมความพร้อมของวัดในการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ จังหวัดนครปฐม (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูวิบูลเจติยาภิรม (ทวี มีสุข) ข้อมูลวันที่ : ๐๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  กิตติทัศน์ ผกาทอง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุของวัดใน จังหวัดนครปฐม ๒) เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมของวัดในการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ จังหวัดนครปฐม และ ๓) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคและแนวโน้มการเตรียมความพร้อมของวัดในการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ จังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดนครปฐม จำนวน ๓๘๔ คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๕ รูป/คน

ผลการวิจัย พบว่า

๑) การส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุของวัดในจังหวัดนครปฐม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีสถานภาพสมรส มีวุฒิการศึกษาระดับต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย และมีอาชีพรับราชการ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุของวัดในจังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสุขภาวะทางกาย อยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านสุขภาวะทางกาย ข้อว่า ท่านพอใจกับการนอนหลับของท่านมากน้อย ด้านสุขภาวะทางจิต ข้อว่า ท่านคิดว่าชีวิตมีความหวังอยู่เสมอ ด้านสุขภาวะทางปัญญา ข้อว่า เมื่อท่านมีความจำเป็นจะต้องช่วยงานการกุศลต่างๆ ท่านไม่จำเป็นต้องพึ่งเงินจากลูกหลาน และ ด้านสุขภาวะทางสังคม ข้อว่า คนในชุมชนให้ความเคารพนับถือท่าน อยู่ในระดับมากที่สุด

๒) การเตรียมความพร้อมของวัดในการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ จังหวัดนครปฐม พบว่า มีการเตรียมความพร้อมสุขภาวะ ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาวะทางกาย มีการออกกำลังกาย การป้องกันและรักษาสุขภาพ การตรวจเช็คสุขภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ด้านสุขภาวะทางจิตใจ มีการปรับเปลี่ยนสภาพจิตใจให้มีการยอมรับ มีความเชื่อในความสามารถของตนเอง เปิดใจกว้างที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มองโลกในแง่ดี และมีความหวัง ด้านสุขภาวะทางสังคม ให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่ายังมีประโยชน์และคุณค่า เป็นที่ต้องการและยอมรับของสังคม มีการผูกมิตรหรือเข้ากับคนอื่นได้ และแบ่งปันสิ่งของหรือความรู้ที่ได้รับให้แก่ผู้อื่นเสมอ และด้านสุขภาวะทางปัญญา มี ปัญญาบำบัด เป็นการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุและมีการพัฒนาทั้ง ๔ ด้าน เสริมสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนา มีการให้ทานรักษาศีล การเจริญสติภาวนา การแผ่เมตตา และการสวดมนต์

๓) ปัญหาอุปสรรคของวัดในการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุจังหวัดนครปฐม ได้แก่ บทบาทและความสำคัญของผู้สูงอายุในสังคมมักจะถูกจำกัดให้ลดลง เนื่องจากถูกมองว่าสุขภาพไม่แข็งแรง เกิดภาวะความเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย การสื่อสารกับคนทั่วไปทำได้ลำบาก ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกว่าตนเองไม่มีประโยชน์ เป็นภาระให้ลูกหลาน มีความสามารถด้านการทำงานและด้านการใช้ชีวิตในสังคมลดลง

แนวโน้มการเตรียมความพร้อมของวัดในการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ จังหวัดนครปฐม ประกอบไปด้วย ๖ องค์ประกอบ : (๑) B = Buddhist principle (หลักพุทธธรรม) (๒) L = Learning (การเรียนรู้) (๓) P= Permanence (การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง) (๔) C= Cooperation (ความร่วมมือ) (๕) C = Community elders (ชุมชนผู้สูงอายุ) และ (๖) N = Network (เครือข่าย)

โดยใช้อักษรย่อว่า “BLPCCN”

 

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕