หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ธัญย์ชนก กุลกันชัย
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๒ ครั้ง
การวิเคราะห์หลักพุทธธรรมในการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนนิธิวิทย์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
ชื่อผู้วิจัย : ธัญย์ชนก กุลกันชัย ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูวรวรรณวิฑูรย์
  ชูชาติ สุทธะ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓  ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมเกี่ยวกับ
การเรียนรู้ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา
(๒) เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนนิธิวิทย์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน (๓) เพื่อวิเคราะห์หลัก
พุทธธรรมในการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนนิธิวิทย์
อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

 

             การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย คือ ศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์ ผลการวิจัยพบว่า

หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับหลักการเรียนรู้ประกอบด้วยหลักกัลยาณมิตร ๗ ประการสำหรับครูผู้สอน  ได้แก่ เป็นผู้น่ารัก  เป็นผู้น่าเคารพ  เป็นที่เจริญใจ เป็นผู้สามารถว่ากล่าวตักเตือน  เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำได้ เป็นผู้ที่กล่าวถ้อยคำหรือเรื่องที่ลึกซึ้งได้ และไม่ชักจูงไปในทางเสียหาย  หลักอิทธิบาท ๔ สำหรับครูผู้สอน คือ มีความศรัทธาในวิชาชีพครู มีความเพียรพยายามในการสอน มีการเอาใจใส่ในการสอน และหมั่นตรวจสอบปรับปรุงการสอนของตน หลักอิทธิบาท ๔ สำหรับนักเรียน ได้แก่  ความสนใจในการเรียน ขยันเรียน เอาใจใส่ไม่ละทิ้งการเรียน และหมั่นพิจารณาทบทวนผลการเรียน นอกจากนี้ยังมีพุทธวิธีการสอน ๔ อย่าง ได้แก่ (๑) การสอนแบบสากัจฉาหรือการสนทนา (๒) การสอนแบบบรรยาย (๓) การสอนแบบตอบปัญหา (๔) การสอนแบบวางกฎข้อบังคับ

 

สภาพการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนนิธิวิทย์พบว่า โรงเรียนจัดให้มี English Program ที่เน้นการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษประกอบด้วย (๑) ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (๒) วัฒนธรรมการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร (๓) การใช้อังกฤษเพื่อเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และ ๔) ภาษาอังกฤษที่สัมพันธ์กับสถานการณ์โลก ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน โดยใช้สื่อประกอบการสอนที่เหมาะสมและทันสมัย

 

จากการวิเคราะห์หลักพุทธธรรมในการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนนิธิวิทย์ พบว่า
ครูผู้สอนมีความเป็นกัลยาณมิตร มีน้ำใจที่ดีงาม เอื้อเฟื้อ เกื้อกูลทั้งประโยชน์ตนและผู้อื่น ช่วยชี้แนะ บอกกล่าว สั่งสอน มีการสนับสนุนให้นักเรียนนำความรู้ ความคิด ทักษะต่าง ๆ ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการเรียนและดำเนินชีวิตของนักเรียนแต่ละคน  นอกจากนี้ยังพบหลักอิทธิบาท ๔ สำหรับครู คือ ครูมีความรักในการสอน มีความขยัน มีความเอาใจใส่ในการสอน หมั่นศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาตนอย่างสม่ำเสมอ ในส่วนอิทธิบาท ๔ ของนักเรียน พบว่า รักในการเรียนภาษาอังกฤษ  มีความขยัน เอาใจใส่ในการเรียน และหมั่นพิจารณาทบทวนบทเรียนอย่างสม่ำเสมอ ในส่วนของวิธีการสอนที่สอดคล้องกับพุทธวิธี ๔ แบบนั้น พบว่า ๑) การสอนแบบสากัจฉาหรือสนทนา มีการฝึกทักษะการฟังและการโต้ตอบสนทนา  (Conversation)  ทั้งแบบกลุ่มและตัวต่อตัว ๒) การสอนแบบบรรยาย   มีการบรรยายอธิบายเนื้อหาเพื่อให้เข้าใจในหลักการ  (Lecture)  ๓) การสอนแบบตอบปัญหา มีการเปิดโอกาสให้ถาม หรือตั้งคำถามให้ตอบ (Question and Answer) และ ๔) การสอนแบบวางกฎข้อบังคับ มีการตั้งกติกาในชั้นเรียน เช่น ให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในชั้นเรียน และส่งการบ้านตามกำหนด

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕