หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » เอกวุฒิ กาวิละ
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๕ ครั้ง
ศึกษาพุทธศาสนานิกายเซนที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของชาวญี่ปุ่นที่พำนักอาศัยในจังหวัดเชียงใหม่
ชื่อผู้วิจัย : เอกวุฒิ กาวิละ ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ชูชาติ สุทธะ
  เทพประวิณ จันทร์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๘ มกราคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่อง ศึกษาพุทธศาสนานิกายเซนที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของชาวญี่ปุ่นที่พำนักอาศัยในจังหวัดเชียงใหม่มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดพระพุทธศาสนามหายาน (นิกายเซน)  ๒) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของชาวญี่ปุ่น และ ๓) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพระพุทธศาสนานิกายเซนที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของชาวญี่ปุ่นที่พำนักอาศัยในจังหวัดเชียงใหม่ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก ตลอดจนทำการสรุป วิเคราะห์ผลการวิจัย

 

พระพุทธศาสนานิกายเซน ไม่ต้องอาศัยตัวหนังสือหรือปริยัติธรรมใดๆ ไม่อยู่ในกรอบแห่งคำพูดใดๆ แต่ชี้ตรงไปยังจุดของจิตใจ และสอนคนให้มองย้อนเข้าไปในธรรมชาติของเขาเอง เพื่อเข้าถึงพุทธภาวะ ลัทธิความเชื่อเดิมคือศาสนาชินโตอันเป็นศาสนาดั้งเดิม จึงก่อให้เกิดเป็นพระพุทธศาสนาเซนแบบญี่ปุ่นขึ้น พระพุทธศาสนานิกายเซน คือสมาธิภาวนา หรือที่เรียกกันว่า     “ซาเซนจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง และเชื่อกันว่าประสบการณ์ของการตรัสรู้นี้ ได้รับการถ่ายทอดลงมาตามลำดับโดยไม่ขาดสาย รากฐานความคิดและความเชื่อ ที่นำไปสู่การปฏิบัติเพื่อการแสวงหาจิตเดิมแท้ หรือจิตหนึ่ง ในปรัชญาเซน เมื่อจิตปราศจากกิเลสตัณหาแล้วจึงจะเป็นจิตที่ปราศจากทุกข์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต ได้แทรกซึมนิกายเซนให้เข้าไปอยู่ในวิถีการดำเนินชีวิตของชาวญี่ปุ่นโดยทั่วไป จนเกิดเป็นวัฒนธรรมอื่นๆ ขึ้นอีกมากมาย เช่น การจัดสวน การจัดดอกไม้ การยิงธนู การต่อสู้ (ซามูไร) แท้ที่จริงกระบวนการทั้งหมดนี้ เพื่อให้ชีวิตคนๆ หนึ่ง ได้มีสติสัมผัสกับปัจจุบันขณะเท่านั้นเอง

 

ความสัมพันธ์ของพระพุทธศาสนานิกายเซนที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของชาวญี่ปุ่น การคืบคลานเข้าไปหรือการเคลื่อนย้ายไปอย่างช้าๆของชาวญี่ปุ่น ตัวอักษร ๔ ตัว คือ Wa, Kei, Sei, Jaku ซึ่งคือปรัชญาแนวคิดศาสนาพุทธนิกายเซน ผ่านบริบทของวัฒนธรรม บุคลิกภาพ และสังคม ที่แฝงไว้ในวิถีชา วิถีการฟันดาบ วิถีการแต่งบทกวีไฮกุ และวิถีการจัดสวนและดอกไม้ เป็นนิยามความสัมพันธ์ของเซนกับแนวทางการดำเนินชีวิต คือความสามัคคี ความกลมกลืน ความสงบ ความสมถะ  ความเชื่อมั่นต่อกัน  ความไว้วางใจ  ความสะอาดบริสุทธิ์  ความจริงใจ  และการเคารพ เป็นต้น

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕