หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูวิสิฐเจติยาภิบาล (ปรีชา สิริธโร)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๓ ครั้ง
ศึกษาแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสำหรับพระบัณฑิตอาสาบนพื้นที่สูง
ชื่อผู้วิจัย : พระครูวิสิฐเจติยาภิบาล (ปรีชา สิริธโร) ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสิริสุตานุยุต
  พระอธิการสมนึก จรโณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๘ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง  ศึกษาแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสำหรับพระบัณฑิตอาสาบนพื้นที่สูง” ในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้    ประการ  ได้แก่ (๑) เพื่อศึกษาภูมิหลังการเผยแผ่ของพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา บนพื้นที่สูง (๒) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาบนพื้นที่สูง และ (๓) เพื่อศึกษาแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสำหรับพระบัณฑิตอาสาบนพื้นที่สูง

 

การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร ข้อมูลชั้นปฐมภูมิ จากคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พร้อมทั้งอรรถกถา ฎีกา และการเก็บข้อมูลภาคสนาม ผลการวิจัยพบว่า

 

ด้านภูมิหลังการเผยแผ่ของพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา บนพื้นที่สูง พบว่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  เห็นความสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวเขาบนพื้นที่สูง  จึงมอบหมายให้วิทยาเขตเชียงใหม่  เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงานโครงการพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา เพื่อจัดส่งพระบัณฑิตที่จบการศึกษาจากทางมหาวิทยาลัยทุกวิทยาเขต  ที่สนใจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาบนพื้นที่สูง รูปแบบการบริหาร มีคณะกรรมการบริหารงานส่วนกลาง มีคณะกรรมการบริหารงานส่วนภูมิภาค มีหน้าที่ในการจัดทำแผนงบประมาณประจำปี จัดหาพระบัณฑิตอาสา จัดทำแผนยุทธศาสตร์การปฏิบัติงาน ส่งเสริม สนับสนุน กำกับติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานของพระบัณฑิตอาสาภาคสนาม

 

ด้านปัญหา อุปสรรคของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาบนพื้นที่สูง  พบว่า การทำงานของพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขาบนพื้นที่สูง เริ่มมีปัญหาเพราะมีผู้มาสมัครน้อยลงเนื่องจากที่อื่นมีแรงจูงใจที่มากกว่า แต่ความต้องการของชุมชนมีมากขึ้น ปัญหา อุปสรรคด้านที่อยู่อาศัย ขาดเสนาสนะไม่มีความพร้อมด้านสถานที่ ด้านการเดินทางสภาพพื้นที่เป็นถิ่นทุรกันดาร การเดินทางสัญจรไปมาลำบาก ฤดูฝนจะลำบากมาก ด้านการสื่อสาร สนทนา พูดคุย  การฟัง  ชุมชนบางพื้นที่เห็นว่าพุทธศาสนาขัดต่อวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน การเข้าไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนถูกต่อต้านจากชุมชนที่นับถือศาสนาอื่น มีการใช้ภาษาการสื่อสารระหว่างพระสงฆ์กับชาวบ้านยังไม่เข้าใจกัน ด้านบุคคลที่อยู่ร่วมกัน  ไม่สามารถที่จะทำงานให้ต่อเนื่อง ทำงานไม่เป็นธรรมชาติ ด้านอาหารที่บริโภค เครื่องอุปโภคปริโภคขาดแคลนไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก มีปัญหาอาหาร ชาวไทยบนพื้นที่สูงในระยะแรกของการเข้าไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ชาวไทยบนพื้นที่สูงยังไม่รู้ ไม่เข้าใจในพระพุทธศาสนาการออกรับบิณฑบาต ไม่มีใครตักบาตร ด้านอากาศตามฤดูกาล ปัญหาด้านสถานที่ต้องไปอาศัยของชาวบ้านเป็นที่พักบางแห่งสถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาอยู่ไกลชุมชนไม่มีศาลาที่จะใช้ในการประกอบพิธี หน้าร้อนไม่มีน้ำใช้  ด้านอิริยาบถอันเป็นที่สบาย การเคลื่อนไหวพระสงฆ์ขาดงบประมาณในการเผยแผ่ การทำงานเผยแผ่มีสภาพปัญหาเรื่องงบประมาณ ขาดวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นสื่อการสอน

 

การดำเนินการเผยแผ่พระพุทธศาสนาบนที่สูงตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน ทำให้ชนเผ่าต่างๆ เกิดความศรัทธาในพระพุทธศาสนาแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ส่งบุตรหลานเข้ารับการบรรพชาอุปสมบท ร่วมมือกับพระสงฆ์จัดตั้งอาศรม เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรม มากขึ้นตามลำดับ

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕