หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระชวลิต จิรวฑฺฒโน (ยั่งยืน)
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๗ ครั้ง
กระบวนการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชนในตำบลแม่ต๋ำ อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย
ชื่อผู้วิจัย : พระชวลิต จิรวฑฺฒโน (ยั่งยืน) ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสุนทรธรรมนิทัศน์
  พระครูโกศัยพัฒนบัณฑิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาหลักศีล ๕ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการรักษาศีล ๕ ของประชาชนในตำบลแม่ต๋ำ อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย (๓) เพื่อศึกษากระบวนการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตตำบลแม่ต๋ำ อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงรายเป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) ผลการวิจัย พบว่า

๑. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับความคิดเห็นต่อสภาพปัญหา และอุปสรรคในการรักษาศีล ๕ ของประชาชนในตำบลแม่ต๋ำ อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย โดยภาพรวมพบว่า    มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๖๒) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ปัญหาอุปสรรคในการรักษาศีล ๕ ของประชาชน ในศีลข้อที่ ๑ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = ๓.๖๔) ในประเด็นเกี่ยวกับการประกอบอาชีพของประชาชนที่ส่งผลต่อการฆ่าสัตว์ และการทอดทิ้งสัตว์เลี้ยง รองลงมาคือ ศีลข้อที่ ๓ สื่อต่างๆ ส่งต่อผลกระทบต่อพฤติกรรม และการแต่งตัวในสังคมเปลี่ยนไป ศีลข้อที่ ๔ พูดโกหกเพื่อเอาตัวรอด และพูดระรานคนอื่นด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย ศีลข้อที่ ๒ ขาดการอบรมทางคุณธรรมจริยธรรม และสังคมในปัจจุบันทำให้ต้องเอาตัวรอด ศีลข้อที่ ๕ สังคมไทยเป็นสังคมสังสรรค์มีการวางจำหน่ายสุรายาเสพติดให้โทษเป็นจำนวนมากและสามารถหาซื้อได้ง่าย

๒. กระบวนการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในเขตตำบลแม่ต๋ำ อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงรายจากการวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการรักษาศีล ๕ เพื่อนำมาพัฒนากระบวนการในการส่งเสริมเพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น พบว่าศีลข้อที่ ๑ ด้านหลักประกันชีวิต ใช้กระบวนการจัดอบรมเข้าค่ายปฏิบัติธรรม และให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตามหลักศีล ๕ ศีลข้อที่ ๒ ด้านทรัพย์สิน           ใช้กระบวนการจัดอบรมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทางเศรษฐกิจโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีอยู่เดิม จะสามารถนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้มีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอสำหรับทุกครอบครัว ศีลข้อที่ ๓ ด้านครอบครัว ใช้กระบวนการจัดโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชน การเข้าค่ายพุทธบุตร เน้นสร้างศีลธรรมให้เกิดขึ้นในตัวของเยาวชน ศีลข้อที่ ๔ ด้านสังคม  ใช้กระบวนการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีซึ่งกันและกัน ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน และการฝึกสมาธิ ศีลข้อที่ ๕ ด้านสุขภาพ ใช้กระบวนการจัดกิจกรรมสันทนาการสานสัมพันธ์ในชุมชน รณรงค์สร้างคุณค่าในแก่ผู้เลิกดื่มสุราและเลิกเสพยาเสพติดด้วยการสร้างกำลังใจ และให้การยอมรับ เพื่อคืนคนดีสู่สังคม

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕