หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระพิบูลสิน ญาณวฑฺฒโน (เฉลิมรัตน์)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๘ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
ชื่อผู้วิจัย : พระพิบูลสิน ญาณวฑฺฒโน (เฉลิมรัตน์) ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราเชนทร์ วิสารโท
  พระครูจิรธรรมธัช
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

 

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการดูแลสุขภาพและหลักพุทธธรรมในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในสังคมไทยปัจจุบัน ๒) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม  และ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม  การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เพื่อทำการเก็บรวบรวมข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า  ผู้สูงอายุหมายถึงผู้ที่มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป หลักพุทธธรรมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุจะนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต เพื่อให้ได้รับประโยชน์สุข ตั้งแต่ขั้นต้นในการลงมือปฏิบัติ ได้แก่ หลักไตรลักษณ์ เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ คือให้ยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นทั้งด้านบวกและด้านลบ ยอมรับกับทุกข์ที่เกิดขึ้น โดยยึดถือปฏิบัติตามหลักพุทธธรรม เพื่อทำให้ผู้สูงอายุมีอายุยืน สุขภาพกาย สุขภาพจิตดี หลักความไม่ประมาท ทำให้ไม่ประมาทในทรัพย์สินใช้ทรัพย์ให้เกิดประโยชน์ ทำให้ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น และหลักบุญกิริยาวัตถุ เป็นหลักธรรมคำสอนที่ประยุกต์ให้เหมาะสม

สภาพและปัญหาการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม  ปัญหาด้านร่างกายที่มีผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุที่พบมากที่สุด คือ ที่เป็นไปตามความเสื่อมของร่างกาย การใช้ร่างกายทำงานมากเกินไป รับประทานอาหารตามใจตนเอง และโรคประจำตัว ปัญหาด้านจิตใจและอารมณ์ บางคนกลัวการถูกทอดทิ้ง กลัวการอยู่คนเดียว บางคนเป็นโรคซึมเศร้า ทำใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้ ปัญหาด้านครอบครัวและสังคม ผู้ที่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมน้อย บางคนมีปัญหาทางครอบครัว เป็นตัวแทนของลูกหลานที่ไปทำงานดูแลบ้านทุกอย่างแทน บางคนเจ็บป่วยไปร่วมกิจกรรมของสังคมไม่ได้ ด้านครอบครัวเกิดความขัดแย้งที่ไม่เข้าใจกันระหว่างลูกหลานกับผู้สูงอายุ

การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมสำหรับการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ในตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม  พบว่า ความสุขตามหลักพุทธธรรมไม่ได้มุ่งเพียงแค่ให้มนุษย์มีความสุขต่อสุขภาพเท่านั้น แต่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาทั้งต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และสิ่งแวดล้อม นำหลักพุทธธรรมที่ตนยึดถือปฏิบัติในวิถีชีวิตมาส่งเสริมและแก้ปัญหาด้านร่างกาย เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง พยายามบำเพ็ญความดีเพื่อควบคุมรักษาความประพฤติทุกกด้านที่มีอยู่ในตัว ป้องกันมิให้ทำความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อความสุขในปัจจุบันและหลังจากละโลกนี้ไปแล้วโดยการปฏิบัติ ดังนี้  ๑. การแก้ปัญหาด้านร่างกาย ยอมรับความจริงกับสิ่งที่เกิดขึ้นทุกคนต้องเป็นเช่นนี้ ไม่ใช่เราคนเดียวที่เป็นเชื่อในกฎแห่งกรรมทำดีได้รับผลดีทำชั่วได้รับผลชั่วไม่ประมาทอดทนปล่อยวาง  ๒. การแก้ปัญหาด้านจิตใจและอารมณ์รักษาศีลฟังธรรมอดทนอดกลั้นลดความโกรธ ความโลภ เจริญสติ ฟังธรรมช่วยเหลือสังคม  ๓. การแก้ปัญหาด้านสังคมและครอบครัว มองโลกในแง่ดี เข้าใจ เห็นใจ ให้เกียรติ ไม่ใส่ร้ายหลีกเลี่ยงปัญหาการขัดแย้ง ให้ทานช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อจุนเจือกัน ยินดีกับการทำความดีของผู้อื่นเคารพในความดีของเพื่อนและของครอบครัว  และ ๔. การแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจและรายได้ ไม่ประมาทในการใช้จ่ายทรัพย์ ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น รู้จักประมาณตน ทำตนให้เป็นคนเลี้ยงง่าย

 

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕