หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสุวรรณวชิรวงศ์ (หงษ์คำ วชิรวํโส)
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๕ ครั้ง
การประยุกต์หลักอิทธิบาท ๔ ใช้ในการจัดการเรียนรู้ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑–๓ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วัดศรีสุธาทิพย์ อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสุวรรณวชิรวงศ์ (หงษ์คำ วชิรวํโส) ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สมเดช นามเกตุ
  เจษฎา มูลยาพอ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๕ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 

ในการวิจัย เรื่อง การประยุกต์หลักอิทธิบาท ๔ ใช้ในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑–๓ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วัดศรีสุธาทิพย์ อำเภอหนองหาน  จังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิด เกี่ยวกับหลักอิทธิบาท ๔ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาวิธีการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน ๓) เพื่อวิเคราะห์ผลประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑–๓ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วัดศรีสุธาทิพย์ อำเภอหนองหาน  จังหวัดอุดรธานี   เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) นำผลวิเคราะห์ประกอบวิทยานิพนธ์ ผลการวิจัยพบว่า

แนวคิดอิทธิบาท ๔  พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า อิทธิบาท ๔ มีองค์ประกอบ ดังนี้ ฉันทะ หมายถึง สร้างความพอใจในกุศล คือ ประสงค์จะทำยิ่งขึ้น... วิริยะ หมายถึง การปรารถนาความเพียรทางใจ สัมมาวาจา จิตตะ ความเพียรที่มุ่งมั่น ปรารภความเพียรไม่ทอดทิ้งภาระ... วิมังสา หมายถึง ปัญญากิริยาที่รู้ชัด ความไม่หลง... พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับอิทธิบาท ๔ สรุปได้ว่า อิทธิบาท ๔ เป็นหลักธรรมไม่เคยล้าสมัย เป็นทางแห่งความสำเร็จ แก่ผู้นำไปปฏิบัติ มี ๔ ประการ คือ ฉันทะ รักงาน พอใจทำสิ่งนั้น วิริยะ สู้งานพากเพียรทำ จิตตะ ใส่ใจงานเอาจิตฝักใฝ่ วิมังสา ทำงานด้วยปัญญา ใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ พระเมธีธรรมาภรณ์  (ประยูร ธมฺมจิตโต) กล่าวว่า อิทธิบาท ๔ นอกจากจะเป็นคุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จในการงานที่ทำแล้ว อิทธิบาทยังเป็นอายุวัฒนธรรม คือ ความเป็นเหตุให้คนมีอายุยืนยาวอีกด้วย อิทธิบาท ๔ เกื้อหนุนกัน เช่น เกิดฉันทะ มีใจรักแล้วก็ให้พากเพียร เมื่อพากเพียรแล้วก็เอาใจใส่เสมอ และเปิดช่องให้ปัญญาพิจารนาไตร่ตรอง

วิธีการประยุกต์อิทธิบาท ๔ ในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน ผู้บริหาร ครู จัดกิจกรรมแทรกเพื่อให้นักเรียนเห็นประโยชน์และคุณค่าของหลักอิทธิบาท ๔ ในรูปแบบต่างๆ เช่น การอบรมคุณธรรม จริยธรรมทุกวันหน้าเสาธง แทรกเรื่องของบุคคลหรือนักเรียนผู้ประสบผลสำเร็จในการเรียน ได้คะแนนระดับดีเยี่ยม ได้รับรางวัลการแข่งขันต่างๆ ก็เพราะใช้อิทธิบาท ๔ นอกจากนี้ในการสอน ครู ก็แทรกคุณธรรมเรื่องอิทธิบาท ๔ ในโอกาสต่างๆ เช่น ค่ายอบรมคุณธรรม จริยธรรม วิทยากรเน้นการสอดแทรกคุณธรรมคืออิทธิบาท ๔  เป็นหลัก

ผลการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการประกอบอาชีพ คือ หลักธรรมที่ช่วยให้ทำงานสำเร็จ ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในการเรียนการสอน คือเป็นอาชีพหลัก ถ้าทำแล้วต้องมีความรับผิดชอบในบริหารการเรียนรู้ ต้องดูแลการเรียนให้ดี วิริยะ ความเพียรพยายามในการเรียน คือตั้งใจทำ ต้องมีความรับผิดชอบสูง การเรียนรู้ที่ได้ออกมาดีและมีคุณภาพ จิตตะการเอาใจฝักใฝ่คือความคิดเอาใจจดจ่อในการเรียนและทำงาน ทำแล้วอยากให้ของได้หลายๆ ตามรูปแบบที่ต้องการมาก็ทำได้หมด วิมังสา การพิจารณาใคร่ครวญ คือ ต้องปรับปรุงอยู่เสมอในทุกๆ วัน เพราะว่าจะต้องมีการเรียนการสอนให้ดี และประสบผลสำเร็จได้ต้องแสวงหาความรู้ หรือมองงานให้ออก ในขณะกำลังศึกษาเรียนรู้ให้เกิดประสบการณ์เกิดผลงานที่สำเร็จได้ตามที่พึงประสงค์ ซึ่งจากการศึกษาทำให้เห็นความสำคัญและประโยชน์คุณค่าของอิทธิบาท ๔ ที่มีต่อผู้บริหารและครู รวมถึงการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๑–๓ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วัดศรีสุธาทิพย์

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕