หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ชาลดา ชื่นศิลป์ นราวุฒิชัย
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๑ ครั้ง
แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมสำหรับส่งเสริมการทำงานของนักการ ตลาดไทยเชิงพุทธบูรณาการ
ชื่อผู้วิจัย : ชาลดา ชื่นศิลป์ นราวุฒิชัย ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ตวงเพชร สมศรี
  ประพันธ์ ศุภษร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มกราคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมสำหรับส่งเสริมการทำงานของนักการตลาดไทยเชิงพุทธบูรณาการ” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ ได้แก่ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีและหลักการทำงานของนักการตลาดไทย (๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ใช้การส่งเสริมการทำงานของนักการตลาดไทย (๓) เพื่อเสนอแนวทางการนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์กับการทำงานของนักการตลาดไทยเชิงพุทธบูรณาการงานวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ(Quantitative Research) โดยศึกษาเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึกในการกำหนดกรอบการวิจัยตามวัตถุประสงค์ รวบรวมข้อมูลด้านเอกสารอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการตลาดไทยเชิงพุทธบูรณาการและการสัมภาษณ์บุคคลผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่มีความเชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนาและนักวิชาการด้านการตลาดโดยวิธีเชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า

นักการตลาดเป็นอาชีพที่สำคัญมากในระบบทุนนิยมแบบตลาดเสรีเป็นอาชีพที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคเพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในการให้บริการลูกค้าที่มาใช้บริการต้องได้รับความเชื่อถือและความเชื่อมั่นซึ่งมีส่วนสำคัญในการทำงานของนักการตลาดเป็นอย่างมาก นักการตลาดจะต้องพัฒนาเรียนรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ สร้างความเชื่อถือความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าตอบสนองความต้องการและสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้มากที่สุด รู้จักการวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดให้ชัดเจนมีความเป็นมืออาชีพ มีความรอบรู้ มีความรับผิดชอบในงานและสื่อสารกับคนอื่นได้อย่างเข้าใจและนักการตลาดต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสร้างความแตกต่างและความโดดเด่นเกี่ยวกับการตลาด

การนำหลักธรรมมาใช้ในการส่งเสริมการทำงานของนักการตลาดให้มีคุณภาพและมีคุณธรรมนั้นต้องอาศัยหลักทฤษฎีและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเข้ามาประยุกต์หรือสนับสนุนการบริหารงานของนักการตลาดทั้งการวางแผน ระบบ และกลยุทธ์ในด้านต่าง ๆ เพื่อให้นักการตลาดได้มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในสังคมดังนั้นการนำหลักอิทธิบาท ๔ และหลักพรหมวิหาร ๔ สามารถนำมาส่งเสริมการทำงานให้ประสบความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยนำหลักอิทธิบาท ๔  คือ ฉันทะความรักงานพอใจกับงานที่ทำอยู่สร้างแรงจูงใจรักในงานที่ทำนำวิริยะความขยันหมั่นเพียรกับงานทุกอย่างจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความขยันหมั่นเพียรเครื่องมือที่จะนำนักการตลาดไปสู่ความสำเร็จได้ นำจิตตะความเอาใจใส่รับผิดชอบงานที่ทำจิตใจที่จดจ่อกับงานล้วนเกิดผลดีต่องานที่ทำด้วยความตั้งใจที่จะให้งานนั้นบรรลุเป้าหมายนำวิมังสามาใช้ในการพินิจพิเคราะห์ความเข้าใจทำวิธีทำงานให้สำเร็จทำงานด้วยการเอาใจจดจ่ออยู่ตลอดเวลาคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุและผล ย่อมทำให้เข้าใจต่อกระบวนการ วิธีการและแนวทางในการดำเนินงานที่ถูกต้อง เหมาะสมวิมังสาถือได้ว่าเป็นหลักปฏิบัติที่ช่วยในการเอาชนะปัญหาและอุปสรรคในการทำงานของนักการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นส่วนหลักพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตาและอุเบกขา เป็นตัวกำกับทางจิตใจของพนักงานให้อยู่กับเพื่อนร่วมงานได้อย่างมีความสุขโดยการแสดงออกในด้านความรักความปรารถนาให้ทุกคนและให้มีจิตใจสงสารเอื้ออาทรต่อกันและกันรวมถึงด้านจิตใจต้องมีความเมตตาพลอยยินดีกับคนที่เขาได้ดีมีสุขส่วนการส่งเสริมนักการตลาดในพระพุทธศาสนามีอยู่    อย่างคือ  (๑)  หลักความถูกต้อง (๒)  หลักความเหมาะสม (๓)  หลักความโปร่งใสและ  (๔)  หลักความยุติธรรมซึ่งจะช่วยให้นักการตลาดนึกถึงคุณธรรมของการเป็นนักการตลาดที่มีดีต่อไป

แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมสำหรับการส่งเสริมการทำงานของนักการตลาดไทยเชิงพุทธบูรณาการที่สามารถนำมาประยุกต์ในการทำงานของนักการตลาดให้ประสบความสำเร็จ สรุปได้ ๖ รูปแบบ ดังนี้ (๑) พัฒนางานด้วยฉันทะการพัฒนาด้วยฉันทะนั้นจะทำให้ความพอใจหรือความสนใจเป็นหลักการเบื้องต้นที่จะนำนักการตลาดไปสู่ความสำเร็จและปลูกฝังความพอใจในทำงานทำหน้าที่การงานและอาชีพ(๒) ปลูกฝังจิตมุ่งมั่นด้วยวิริยะความตั้งใจเพียรพยายามในการทำงานของนักการตลาดด้วยการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกปลูกฝังความเพียรพยายามในการทำธุรกิจ(๓) ขนาบงานด้วยจิตตะเอาจิตฝักใฝ่ตั้งจิตจดจ่อในสิ่งที่ทำและทำสิ่งนั้นด้วยความคิดไม่ปล่อยจิตใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอย (๔) พิชิตสิ่งร้ายด้วยวิมังสาใช้ปัญญาสอบสวนหมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผล (๕) สร้างสานสัมพันธ์โยงใยรักด้วยพรหมวิหาร ๔คือสานสัมพันธ์นักการตลาดด้วยกันเพื่อกำกับจิตใจของนักการตลาดให้แสดงออกในด้านความรักความปรารถนาให้ทุกคนมีความสุขและให้มีจิตใจสงสารและพลอยยินดีกับเพื่อนร่วมงานที่ประสบความสำเร็จในการทำงาน(๖) สร้างคุณธรรมในการทำงานด้วยความสุจริตคือการทำงานของนักการตลาดที่ดีจะต้องมีความสุจริตทั้งทางกาย วาจา ใจ ทำให้มีความเชื่อถือเป็นที่ยอมรับและเป็นประโยชน์ต่อบริษัท

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕