หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พลสรรค์ สิริเดชนนท์
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๔ ครั้ง
การเรียนรู้หลักพุทธธรรมในสัตตมหาสถานผ่านการผลิตสื่อแบบมีส่วนร่วมของเยาวชน
ชื่อผู้วิจัย : พลสรรค์ สิริเดชนนท์ ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พูนชัย ปันธิยะ
  พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๘ มกราคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การเรียนรู้หลักพุทธธรรมในสัตตมหาสถานผ่านการผลิตสื่อแบบมีส่วนร่วมของเยาวชน” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ) เพื่อศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของสัตตมหาสถาน ) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในสัตตมหาสถานและการผลิตสื่อวีดีทัศน์แบบมีส่วนร่วมของเยาวชน ) เพื่อวิเคราะห์การเรียนรู้หลักพุทธธรรมในสัตตมหาสถานผ่านการผลิตสื่อวีดีทัศน์      แบบมีส่วนร่วมของเยาวชน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีผลการวิจัย ดังนี้

ด้านความเป็นมาและความสำคัญของสัตตมหาสถาน เป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ภายหลังการตรัสรู้ ตลอด ๗ สัปดาห์ เป็นช่วงที่พระพุทธองค์ทรงเสวยวิมุตติสุขในอิริยาบถต่าง ๆ     กัน ทั้งประทับนั่ง ประทับยืน และดำเนิน ตำแหน่งของการเสวยวิมุตติสุขทั้งเจ็ดแห่ง เรียกว่า        สัตตมหาสถาน แปลว่า สถานที่อันยิ่งใหญ่ ๗ แห่ง ได้แก่ สัปดาห์ที่ ๑ โพธิบัลลังก์ สัปดาห์ที่ ๒ อนิมิสเจดีย์ สัปดาห์ที่ ๓ รัตนจงกรมเจดีย์ สัปดาห์ที่ ๔ รัตนฆรเจดีย์ สัปดาห์ที่ ๕ อชปาลนิโครธ สัปดาห์ที่ ๖
สระมุจลินท์ และสัปดาห์ที่ ๗ ราชายตนะ

ด้านหลักพุทธธรรม ในสัตตมหาสถานได้พบพุทธธรรมหลายหมวดจำแนก ได้ดังนี้ ในโพธิบัลลังก์ คือ ปฏิจจสมุปบาท  อริยสัจ ๔  ในอนิมิสเจดีย์ คือ กตัญญูกตเวที สมาธิ ในรัตนจงกรมเจดีย์ คือ สติปัฏฐาน ๔ ในรัตนฆรเจดีย์ คือ พระอภิธรรม  ในอชปาลนิโครธ คือ บัวสี่เหล่า ๔ เหล่า ในสระมุจลินท์  คือ ความสงัด ความสุข นิพาน ในราชายตนะ คือ หลักพุทธธรรมเรื่องทาน, ศีล และภาวนา ด้านการผลิตสื่อการเรียนรู้ พบว่า คะแนนทดสอบก่อนเรียน ๒๐.๘๕ คะแนน และคะแนนหลังเรียน ๔๐.๐๘ คะแนน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ก่อนเรียน ๕.๔๘ และหลังเรียน ๕.๗๐ คะแนน เมื่อเปรียบเทียบค่า D. ๖.๓๘ และค่า t. ๕๒.๖๑ ผลคะแนนสอบหลังเรียนของเยาวชนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

ด้านการเรียนรู้หลักพุทธธรรมในสัตตมหาสถานผ่านการผลิตสื่อแบบมีส่วนร่วมของเยาวชน โดยการประเมิน ๕ ด้าน  ได้แก่ ๑. ด้านความคิดสร้างสรรค์ ค่าเฉลี่ยรวมที่ ๓.๗๖ และค่า SD        ที่ ๐.๗๑ อยู่ในระดับมาก ๒. ด้านเนื้อหา ด้านความคิดสร้างสรรค์ ค่าเฉลี่ยรวมที่ ๓.๗๖ และค่า SD ที่ ๐.๖๘ อยู่ในระดับมาก ๓. ด้านเทคนิคการเล่าเรื่อง ค่าเฉลี่ยรวมที่ ๓.๘๒ และค่า SD ที่ ๐.๗๑ อยู่ในระดับมาก       ๔. ด้านการใช้ภาษาและดนตรี ค่าเฉลี่ยรวมที่ ๓.๗๖ และค่า SD ที่ ๐.๗๓ อยู่ในระดับมาก ๕. ด้านคุณภาพในการผลิต ค่าเฉลี่ยรวมที่ ๓.๗๙ และค่า SD ที่ ๐.๗๑ อยู่ในระดับมาก ในภาพรวมทั้ง ๕ ด้าน ค่าเฉลี่ยรวมทั้งหมด ๓.๗๘ ค่า SD ที่ ๐.๗๑ ในระดับมาก แสดงถึงสื่อการเรียนรู้ มีความเหมาะสมอย่างน่าพอใจ

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕