หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ณิชมน อุ่นดอนตอง
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๖ ครั้ง
วิเคราะห์ปัญหาและทางออกของธุรกิจแบบเครือข่ายเชิงพุทธจริยศาสตร์
ชื่อผู้วิจัย : ณิชมน อุ่นดอนตอง ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทโธ
  พูนชัย ปันธิยะ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์นี้ เรื่องวิเคราะห์ปัญหาและทางออกของธุรกิจแบบเครือข่ายเชิงพุทธจริยศาสตร์มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาบริบทการทำธุรกิจแบบเครือข่าย ๒) เพื่อศึกษาพุทธจริยศาสตร์ในการทำธุรกิจแบบเครือข่าย ๓) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและทางออกธุรกิจแบบเครือข่ายเชิงพุทธจริยศาสตร์  

ผลการวิจัยพบว่า บริบทการทำธุรกิจแบบเครือข่าย ถือว่าเป็นกลยุทธ์การบริหารที่ทรงประสิทธิภาพ “Networking” เป็นหัวใจที่ทำให้ประสบความสำเร็จ การสร้างเครือข่าย  ส่งผลให้เกิด  การเชื่อมโยง มีความเป็นมิตรกับคนทั่วไป,   แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสามารถอย่างเต็มที, ได้รับความสำเร็จในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีระบบการตลาดและโครงสร้างของธุรกิจเครือข่ายเป็นแผนการดำเนินงาน

 

พุทธจริยศาสตร์ (Buddhist Ethics) ศาสตร์ที่ว่าด้วยความประพฤติและกริยาอาการที่ควรปฏิบัติของศีลธรรม ทั้งทางดีทางชั่ว อุดมคติทางศีลธรรม จริยธรรมเป็นข้อประพฤติที่มีทางศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องเราเรียกว่า ศีลธรรมเมื่อเข้าไปสู่วิชาชีพต่างๆ จะมีจริยาวิชาชีพ (Professional Ethics) หรือข้อตกลงอันเป็นหลักแห่งความประพฤติของสมาชิกแห่งกลุ่มวิชาชีพนั้น ๆ ในฐานะที่เป็นจรรยาที่ควรปฏิบัติร่วมกันเรียกว่า มีจรรยาบรรณ

ปัญหาและทางออกธุรกิจแบบเครือข่ายเชิงพุทธจริยศาสตร์ ต้องอาศัยหลักธรรม หรือมัชฌิมาปฏิปาทา คือทางสายกลางให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดทั้งสองฝ่าย เจ้าของธุรกิจ มีมาตรฐานหลักสากลและยุติธรรม ต้องคำนึงด้วย ๑) กุศลเจตนาดีต่อกัน ซึ่งไม่มีอกุศลเจตนาในการประกอบธุรกิจแบบเครือข่าย ๒)  เจตนาที่ไม่ดีหรือชั่ว เป็นอกุศลเจตนาในการประกอบธุรกิจแบบเครือข่าย  เพราะว่าเห็นแก่ส่วนตัว มีความโลภเข้ามาครอบงำจิตใจ  ๓) มีเจตนาเป็นกลางและวางเฉย ไม่ทุกข์ ไม่ร้อน ไม่กังวลใด ๆ อัพยากตเจตนา หากแต่เป็นผู้มากระตุ้นให้เกิดการประกอบธุรกิจแบบเครือข่าย

เจตนาของผู้ประกอบธุรกิจแบบเครือข่าย  จะต้องมีเจตนาที่ดี  ไม่หวังเอาแต่ผลกำไรเข้าหาตนเองเท่านั้น ทำให้เล็งเห็นถึงความเป็นจริง รู้จักผิด-ชอบ, รู้จักชั่ว-ดี, รู้จักสิ่งไหนควรหรือไม่ควร การกระทำของนักประกอบธุรกิจแบบเครือข่าย

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕