หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระธนิต อธิจิตฺโต (คงเนียม)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๙ ครั้ง
การบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระธนิต อธิจิตฺโต (คงเนียม) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  สุรินทร์ นิยมางกูร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาสภาพการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ๒. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคล ๓. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเภทการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ และ ๔. เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ

การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๘๗๓ สำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองชัยภูมิ จำนวน ๓๙๖ คน จากประชากร ๓๖,๙๑๙ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สันและการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบตัวต่อตัวกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๒ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ระดับการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๘๖, S.D. = ๐.๗๘๑) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านแหล่งท่องเที่ยว ( = ๓.๘๙, S.D. = ๐.๘๐๐) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ( = ๓.๘๔, S.D. = ๐.๘๔๒) ด้านการบริการ ( = ๓.๘๓, S.D. = ๐.๘๘๗) และด้านผลิตภัณฑ์ของแหล่งท่องเที่ยว ( =๓.๘๙, S.D. = ๐.๘๖๖) อยู่ในระดับมาก

๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคลพบว่า ประชาชนที่มี อายุ การศึกษา อาชีพและรายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มี เพศ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

๓. ความสัมพันธ์ระหว่างประเภทการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ พบว่าประเภทการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยภาพรวม อยู่ในระดับสูง (R=.๘๗๕**) จำแนกตามรายด้านพบว่า ด้านแหล่งท่องเที่ยว อยู่ในระดับสูง (r=.๘๕๐**) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับสูง (r=.๗๙๖**) ด้านการบริการ  อยู่ในระดับสูง (r=.๗๗๐**) ด้านผลิตภัณฑ์ของแหล่งท่องเที่ยว อยู่ในระดับสูง (r=.๘๐๕**)

๔. แนวทางการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ควรอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด ทั้งทรัพยากรทางธรรมชาติและวัฒนธรรมลดการบริโภคที่มากเกินจำเป็น ลดของเสีย ที่จะทำลายสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมความหลากหลายของวัฒนธรรม ประเพณีที่มีความสำคัญต่อการท่องเที่ยวพัฒนาการท่องเที่ยวให้เข้ากับการพัฒนาท้องถิ่น ประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ของแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นต้องมีคุณภาพและราคาไม่แพงเกินไปเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง สร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม
มีการประชุมปรึกษาหารือกันอย่างสม่ำเสมอ ระหว่างองค์กร ประชาชนในท้องถิ่นและผู้ประกอบการควรมีการฝึกอบรมบุคลากรด้านแนวคิดและวิธีปฏิบัติในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวจัดระบบและแผนงานอย่างเป็นระเบียบ เพื่อยกระดับความพอใจของนักท่องเที่ยวมีการวิจัยและการติดตามตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ปัญหาและเพิ่มผลประโยชน์ต่อแหล่งท่องเที่ยว

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕