หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » เทวินทร์ เหล็งศักดิ์ดา
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๖ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์กรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : เทวินทร์ เหล็งศักดิ์ดา ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหายุทธนา นรเชฏฺโฐ
  สุเทพ พรมเลิศ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาโครงสร้างและเนื้อหาของกัมมนิทานสูตร ๒) เพื่อศึกษากรรมที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สาเหตุของกรรมที่ปรากฏในกัมมนิทานสูตร การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมเรียบเรียงข้อมูลจากเอกสาร วิเคราะห์ และนำผลการวิจัยมานำเสนอด้วยการพรรณนาวิเคราะห์      ผลการศึกษาวิจัย พบว่า

                 กัมมนิทานสูตร เป็นพระสูตรที่ปรากฏในคัมภีร์อังคุตตนิกาย ทสกนิบาต เล่ม ๒๔ ข้อ ๑๗๔  หน้า ๓๑๖ โดยกัมมนิทานสูตรเป็นพระสูตรลำดับที่ ๘ ของ ๑๐ พระสูตรของชาณุสโสณิวรรค เนื้อหาสาระที่สำคัญจะกล่าวถึงเรื่องของกรรมเกิดขึ้นจากสาเหตุจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การกล่าวคำเท็จ การพูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ความโลภอยากได้ของคนอื่น ความพยาบาท และความเห็นผิดตามทำนองคลองธรรม สาเหตุมาจากกิเลส ๓ ประการ คือ โลภะ โทสะ และโมหะ ที่เป็นฝ่ายอกุศลกรรมเป็นต้นเหตุด้วยการกระทำทางไตรทวาร

             กรรม หมายถึง การ กิจ การงานหรือการกระทำที่เกิดขึ้นจากการกระทำตนเอง เกิดขึ้นมาจากโลภะ โทสะ และโมหะ โดยมีเจตนาเป็นตัวหลักในการกระทำซึ่งมีทั้งกรรมดีและกรรมไม่ดี กรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา มีทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรม มีทั้งกรรมดำและกรรมขาว และในอรรถกถาได้ แบ่งกรรมออกเป็น ๑๒ อย่าง ได้แก่ ชนกกรรม อุปัตถัมภกกรรม อุปปีฬกกรรม อุปฆาตกรรม ครุกรรม อาจิณณกรรมหรือพหุลกรรม อาสันนกรรม กตัตตากรรม ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม อุปัชชเวทนียกรรม อปราปรเวทนียกรรม และอโหสิกรรม กรรมมีบทบาทและหน้าที่ ๔ ประการ ได้แก่ มีกรรมเป็นของตน     มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์พี่น้อง และมีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

             เมื่อวิเคราะห์กรรมกับการดำเนินชีวิตแล้ว พบว่า กรรมในพระพุทธศาสนานั้นเกิดจาก    ความเชื่อเรื่องบุญบาป กรรมกับความเชื่อที่เป็นมงคล กรรมกับความประสงค์ในผลสำเร็จด้วยหลักธรรมในอิทธิบาท ๔ กรรมกับการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา และกรรมกับการดำเนินชีวิตจะก่อให้เกิดประโยชน์กับตนเองก็ด้วยการศึกษาในเรื่องของกรรมและผลของกรรม

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕