หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » Ven. Phra Sophy Phav Ratanajoto
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๑ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์ปรมัตถภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 : กรณีศึกษา การปฏิบัติปรมัตถภาวนาของวัดมเหยงคณ์ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : Ven. Phra Sophy Phav Ratanajoto ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหายุทธนา นรเชฏฺโฐ
  พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาหลักปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาหลักปฏิบัติปรมัตถภาวนาตามแนวทางของวัดมเหยงคณ์ ๓) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบปรมัตถภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน ๔ โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพผสมผสานระหว่างเชิงเอกสารและภาคสนามด้วย ผลการศึกษาวิจัย พบว่า

                 สติปัฏฐานสูตร เป็นพระสูตรที่สำคัญต่อการปฏิบัติกรรมฐานมาก  พระสูตรนี้มีปรากฏในคัมภีร์ทีฆนิกาย มหาวรรค เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่พุทธบริษัทชาวกุรุ เพราะมีความสนใจในการเรียนธรรมและปฏิบัติธรรมอย่างมาก พระองค์แสดงทางสายเอกของสติปัฏฐานไว้ ๔ ประการ คือ เป็นทางเดียว เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรมและเพื่อทำให้นิพพานด้วยการพิจารณาในฐานทั้ง ๔ ได้แก่ กาย เวทนา จิต และธรรม โดยมีวิปัสสนาภูมิเป็นอารมณ์

             หลักการปฏิบัติกรรมฐานตามแนวทางของวัดมเหยงคณ์นั้น ใช้แนวทางในการพิจารณา ปรมัตถธรรมหรือปรมัตถสัจจะ ได้แก่ จิต เจตสิก รูปและนิพพาน ซึ่งเป็นสภาวธรรมที่เกิดขึ้นจริง ๆ อย่างเที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีใครแต่งขึ้น ไม่มีใครสร้างขึ้น เกิดมีขึ้นเองโดยเหตุโดยปัจจัยไม่มีใครเป็นเจ้าของ     มีความเห็นถูกต้องมีความเข้าใจถูก เป็นการรู้ความจริงของปรมัตถธรรมตามสภาพลักษณะของปรมัตถธรรมนั้น ๆ ด้วยการพิจารณากำหนดรู้รูป-นาม ขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา       ตัดการสมมติบัญญัติทิ้งไป เพื่อให้ความความเป็นจริง แล้วน้อมเข้าไปพิจารณาอาการเกิดดับตามหลักไตรลักษณ์ ไม่ว่าเป็นรูปและนามต่างก็การมีอาการเช่นนี้คือ การเกิดและดับด้วยเหตุและปัจจัยในตัวของมันเอง เป็นการพิจารณาให้เกิดปัญญาจากการกำหนดรู้

 

 

 

             เมื่อศึกษาวิเคราะห์หลักการปฏิบัติปรมัตถภาวนาตามแนวทางของวัดมเหยงคณ์แล้ว พบว่า มีหลักการสอนตามแนวทางในหลักสติปัฏฐาน ๔ ที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร ด้วยการพิจารณากาย เวทนา จิต และสภาวธรรม โดยการพิจารณารูป-นาม ขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์เช่นเดียวกัน

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕